จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 401 : ครอบครัวที่รับเด็กมาเลี้ยง (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 15 มกราคม 2566
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 401 : ครอบครัวที่รับเด็กมาเลี้ยง (1)
จะเกิดอะไรขึ้นหากเด็กที่มีค่าไอคิวต่ำและไม่ได้รับโอกาสทางด้านการศึกษา ถูกนำมาเลี้ยงโดยพ่อแม่บุญธรรมที่สามารถเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาได้
นักวิจัยให้เหตุผลว่า ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางด้านไอคิว ดังนั้นหากมีการจัดเตรียมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้ โดยอาจส่งผลให้คะแนนไอคิวมีค่าเพิ่มขึ้นได้
กลุ่มนักวิจัยชาวฝรั่งเศสศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่ถูกทิ้ง จากพ่อแม่ที่ยากจนตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่ได้รับจากเลี้ยงดูจากพ่อแม่บุญธรรมชนชั้นกลาง ตั้งแต่พวกเขาอายุได้ 6 เดือน
นักวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยตัวเลขทางไอคิวของเด็กที่ถูกรับมาเลี้ยงดูสูงกว่า 14 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มเดียวกันที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ที่ยากจน
นอกจากนี้ เด็กที่ถูกรับมาเลี้ยงสอบตกที่โรงเรียน น้อยกว่าเด็กกลุ่มเดียวกันที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ยากจนถึง 4 เท่า การศึกษานี้สรุปว่า เราสามารถปรับปรุงปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อม เช่น เพิ่มโอกาสในการศึกษา, เพิ่มพัฒนาการทางด้านปัญญา (ที่สามารถวัดค่าโดยแบบทดสอบทางไอคิว), และเพิ่มประสิทธิภาพในห้องเรียนไปทางด้านที่ดีขึ้น
ในการศึกษาประเภทเดียวกันในสหรัฐอเมริกา กับเด็กชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่มาจากสภาวะแวดล้อมที่ยากจน และถูกรับเลี้ยงดูโดยพ่อแม่บุญธรรมชนชั้นกลาง ซึ่งสามารถจัดเตรียมโอกาสทางด้านการศึกษาที่ดีขึ้นให้
นักวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกรับมาเลี้ยงมีไอคิวมากกว่า 10 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่เติบโตในสภาวะแวดล้อมที่เสียเปรียบ (Disadvantage)
อีกหลายปีต่อมานักวิจัยได้ติดตามการศึกษานี้อย่างต่อเนื่อง และรายงานว่าเด็กที่ได้รับการรับเลี้ยง (อันตอนนี้พวกเขาได้เข้าสู่วัยรุ่นแล้ว) มีคะแนนทางไอคิวมากกว่าเด็กชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่เติบโตในสภาวพแวดล้อมของพวกเขาเอง
การศึกษาทั้ง 2 ประเทศ แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีโอกาสทางด้านการศึกษาน้อยและมีคะแนนทางไอคิวที่ต่ำ สามารถเพิ่มคะแนนทางไอคิวได้ หากพวกเขาได้รับการรับเลี้ยงจากครอบครัวที่สามารถจัดเตรียมโอกาสทางด้านการศึกษา
จากข้อมูลทางด้านการศึกษาประเภทนี้ นักวิจัยสรุปว่าการเลี้ยงดูหรือปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของคำตอบเกี่ยวกับทฤษฎีธรรมชาติและการเลี้ยงดูอย่างมีนัยสำคัญ โดยอุปกรณ์หลักที่พวกเขาใช้คือตัวเลขที่เรียกว่าค่าอัตราพันธุกรรม (Heritability)
ค่าอัตราพันธุกรรมเป็นตัวเลขที่บ่งชี้จำนวนสัดส่วนของความสามารถบางอย่าง, ลักษณะนิสัย, หรืออุปนิสัยที่สามารถประกอบขึ้นเป็นปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (ธรรมชาติ)
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2023, January 14].
- Heritability - https://en.wikipedia.org/wiki/Heritability [2023, January 14].