จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 400 : - ธรรมชาติและการเลี้ยงดู (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 400 : - ธรรมชาติและการเลี้ยงดู (2)

สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการเกริ่นเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา ที่อาจส่งผลผ่านพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมของบุคคลที่เติบโตมา สัปดาห์นี้เราจะมาเจาะลึกถึงเรื่องดังกล่าว

นักวิจัยหลายท่านให้ความหมายเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญาเชื่อมโยงเกี่ยวกับ ปัจจัยจีของสเปียร์แมน (Spearman’s g factor) ซึ่งวัดค่าโดยประสิทธิภาพของแบบทดสอบทางสติปัญญา อันบ่งชี้ให้เห็นจากคะแนนของแบบทดสอบทางไอคิว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางท่านได้โต้แย้งว่ายังมีสิ่งอื่นที่มีความสำคัญเท่ากันกับประเภทของความสามารถทางสติปัญญาเช่น การปฏิบัติงาน (การปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม), สังคม (การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น), อารมณ์ (การรับรู้และเข้าใจสภาวะทางอารมณ์), เช่นเดียวกับจินตนาการ และ ดนตรี ความสามารถดังกล่าว ไม่สามารถวัดค่าได้จากแบบทดสอบทางไอคิวทั่วไป

เมื่อนักวิจัยรายงานว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมมีผลต่อความสามารถทางสติปัญญาทั่วไป สิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงความสามารถทางสติปัญญาจะเป็นสิ่งที่ตายตัวเหมือนกับสิ่งที่จารึกอยู่บนหิน หรือสามารถแยกแยะผ่านปัจจัยทางพันธุกรรมได้เพียงอย่างเดียว

ทุกวันนี้มีงานวิจัยมากกว่า 100 ชิ้น ที่ศึกษาเกี่ยวกับฝาแฝดมากกว่า 10,000 คู่ ซึ่งสิ่งที่นักวิจัยค้นพบได้ทั่วไปเกี่ยวกับงานวิจัยประเภทข้างต้นนี้คือ    แฝดแท้ หรือ แฝดที่เกิดมาจากไข่ใบเดียวกัน  (Identical twins) ที่ถูกเลี้ยงมาด้วยกันหรืออาจจะถูกเลี้ยงแยกกัน มีคะแนนจากแบบทดสอบทางไอคิวที่คล้ายกันมากกว่า แฝดต่างไข่ หรือ แฝดเทียม (Fraternal twins)    แฝดแท้ มีคะแนนจากแบบทดสอบทางไอคิวที่คล้ายกันถ้าเปรียบเทียบกับคู่พี่น้องธรรมดาทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น คะแนนจากแบบทดสอบทางไอคิวที่คล้ายกันระหว่าง แฝดแท้ คือ 85% เปรียบเทียบกับ แฝดเทียม คือ 60% และพี่น้องธรรมดาทั่วไปคือ 45%

จากงานวิจัยข้างต้น นักวิจัยสรุปว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (หรือธรรมชาติ) มีผลประมาณ 50% ต่อความสามารถทางสติปัญญาและปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมก็มีผลอีก 50%

นักวิจัยเชื่อว่ากรรมพันธุ์มีผลเกี่ยวข้องต่อความสามารถทางสติปัญญา ซึ่งเราเห็นได้ชัดในช่วงวัยเด็ก แต่มันจะลดลงหากบุคคลนั้น มีประสบการณ์จากชีวิตมากขึ้น

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของฝาแฝด 240 คู่ที่มีอายุ 80 ปีพบว่า การมีส่วนร่วมทางด้านพันธุกรรมในสติปัญญายังมีความเชื่อมโยงจนถึงปลายช่วงชีวิตของพวกเขาและไม่ได้เปลี่ยนไปตามประสบการณ์ทางชีวิตที่ได้รับมากขึ้น

เหตุผลเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านพันธุกรรมนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตายตัวหรือบ่งชี้ว่า ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมมีผล 50% ต่อความสามารถทางสติปัญญา เพราะอีก 50% มาจากปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2023, Jan 7].