จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 399 : ธรรมชาติและการเลี้ยงดู (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 399 : ธรรมชาติและการเลี้ยงดู (1)

จากตอนเก่าที่เคยกล่าวถึงเด็กหญิงนามว่ามิโดริ ว่าเธอได้เริ่มเล่นไวโอลินตั้งแต่อายุ 3 ขวบ และได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีเมื่อเธออายุได้ 10 ขวบ

แม้ว่ามิโดริจะมีอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีตั้งแต่เธออายุยังน้อย แต่ความสามารถของเธอเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นบางอย่างที่ติดตัวเธอมาตั้งแต่เกิด

มิโดริได้เล่นไวโอลินเป็นอาชีพจนถึงอายุ 23 ปี ต่อมาเธอได้ถอนตัวอย่างกะทันหันเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งสาเหตุของการถอนตัวก็คือ เธอมีปัญหากับระบบทางเดินอาหาร (Digestive disorder) แต่บางรายงานกล่าวว่า สาเหตุที่เธอเลิกเล่นไวโอลินเกิดจากปัญหาทางหู

ปัญหาของมิโดริทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและการช่วยเหลือที่ดี สำหรับเด็กที่มีอัจฉริยภาพที่ต้องเรียนรู้เรื่องการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะนิสัยของตนเอง และแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมของพวกเขา

ความยากลำบากที่มิโดริต้องพบเจอก็คือ การปรับความสมดุลของปัจจัยทางธรรมชาติหรือกรรมพันธุ์ (กล่าวคือ การเป็นเด็กอัจฉริยะ) กับปัจจัยทางด้านการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม (กล่าวคือ การที่ได้รับแรงกดดันจากการที่ต้องเป็นมืออาชีพ) ปัจจัยหลังมีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสติปัญญา, อารมณ์, บุคลิกภาพ, และความสามารถทางสังคม

ต้นคริสตทศวรรษ 1900s คำตอบอยู่ที่ปัจจัยธรรมชาติ เพราะเชื่อว่า อัจฉริยภาพเป็นสิ่งที่ส่งต่อกันมา ในคริสตทศวรรษ1950s ความเชื่อนี้ได้เปลี่ยนไปเพราะนักจิตวิทยาได้รับอิทธิพลแนวคิดจากพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งเป็นวิธีการอย่างเป็นระบบ (Systematic approach) ในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

แนวความคิดใหม่นี้เน้นย้ำในเรื่องปัจจัยของการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลถึงอัจฉริยภาพ โดยมีงานวิจัยสมัยใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติและการเลี้ยงดู ส่งผลเท่าเทียมกันกับเรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

นักวิจัยได้รวบรวมคะแนนไอคิวของผู้ทดลองที่เป็นพี่น้องฝาแฝดเดียวกัน (Fraternal twins) ซึ่งได้วิวัฒนาจากรังไข่คนละใบและมี 50% ของพันธุกรรมที่เหมือนกัน เปรียบเทียบกับแฝดเหมือน (Identical twins) ซึ่งเกิดจากรังไข่ใบเดียวกันและมีพันธุกรรมที่เหมือนกัน 100%

ข้อสมมุติฐานของนักวิจัยก็คือ ถ้าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมมีนัยสำคัญเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา หมายความว่าคะแนนจากแบบทดสอบทางไอคิวของแฝดเหมือนจะต้องมีค่าใกล้เคียงกันกับแฝดเดียวกัน

ก่อนจะตอบคำถามการเปรียบเทียบระหว่างธรรมชาติกับการเลี้ยงดู (กรรมพันธุ์หรือพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม) ว่ามีผลต่อความสามารถทางสติปัญญาอย่างไร นักวิจัยต้องมี 2 สิ่งที่ต้องใช้แยกแยะ กล่าวคือความสามารถทางสติปัญญาคืออะไร และความหมายของการส่งผลทางด้านพันธุกรรมคืออะไร

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022, December 31].
  3. Behaviorism - https://en.wikipedia.org/wiki/Behaviorism [2022, December 31].