จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 398: ความเชื่อที่บิดเบือนทางวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 398: ความเชื่อที่บิดเบือนทางวัฒนธรรม (2)

นักจิตวิทยาทางระบบนิเวศน์ (Ecological psychology) ได้พยายามพัฒนาแบบทดสอบทางไอคิวที่ มีเสรีภาพทางวัฒนธรรม (Cultural-free tests) โดยพวกเขากล่าวว่า เราสามารถวัดค่าทางสติปัญญาได้ โดยการสังเกตว่าคนสามารถแก้ไขปัญหาในระบบนิเวศน์หรือสิ่งแวดล้อมทั่วไปได้อย่างไร

ตัวอย่างจากนักวิจัย พบว่าพนักงานประจำบาร์ (Bartender), พนักงานขาย, และเด็กเสิร์ฟต้องแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนเป็นประจำ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของแนวทางการทำงาน ที่เหนือกว่ามาตรฐานของการคาดเดาจากแบบทดสอบทางไอคิว

ในระบบนิเวศน์อื่นๆ ผู้คนจากประเทศไมโครนีเซีย (Micronesia) แสดงให้เห็นทักษะการเดินเรือที่น่าทึ่ง ในขณะที่พวกเขาล่องเรือไปในทิศทางที่ไกล พวกเขาใช้เพียงข้อมูลจากดวงดาวและสภาพทะเล ณ ขณะนั้น ซึ่งทักษะการเดินเรือระดับนี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ระดับสติปัญญาชั้นสูง ที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในแบบทดสอบทางไอคิวทั่วไป

นักจิตวิทยาทางระบบนิเวศน์กล่าวว่า ความสามารถทางสติปัญญาจำเป็นต้องวัดค่าโดยการสังเกตว่า ผู้คนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ได้ดีแค่ไหน ไม่ใช่เพียงอิงจากคำถามในแบบทดสอบทางไอคิว นอกจากความบิดเบือนที่อาจเป็นไปได้ซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมแล้ว ปัญหาที่พบในการทำแบบทดสอบทางไอคิว มาจากปัจจัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสติปัญญา (Non-intellectual factors)

เด็กหญิงวัย 11 ปีนามว่ามาเรีย ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ 2 ปี เธอมีความยากลำบากในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จนผลการเรียนในโรงเรียนของเธอไม่ดีและเธอกลัวทุกครั้งเมื่อต้องทำข้อสอบ

เมื่อมาเรียต้องทำแบบทดสอบทางไอคิว นักจิตวิทยาได้พยายามทำให้เธอรู้สึกผ่อนคลาย แต่มาเรียก็ยังรู้สึกกลัว ที่เธออาจจะสอบตกในแบบทดสอบนี้ เธอได้แต่นั่งเฉยๆ และมองไปที่พื้น

นักจิตวิทยาจะพยามช่วยมาเรีย โดยได้ตั้งคำถามง่ายๆ ว่าเตียงคืออะไร มาเรียรู้สึกตึงเครียดเพราะเธอไม่สามารถสื่อสารหรือคิดคำที่จะพูดออกไปได้ เธอจึงเลือกที่จะนั่งเงียบโดยที่ไม่พูดอะไร สรุปก็คือมาเรียทำได้ไม่ดีในแบบทดสอบทางไอคิวชุดนี้ เพราะมาจากปัจจัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสติปัญญา

ปัจจัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสติปัญญาได้แก่ทัศนคติ, ประสบการณ์, และการทำงานของความรู้สึกที่อาจจะช่วยหรือกีดขวางประสิทธิภาพของการทดสอบ

ยกตัวอย่างปัจจัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสติปัญญาในตัวมาเรีย ได้แก่ความขี้อาย, ความกลัวในสถาการณ์ที่แปลกใหม่, และความเครียดที่เธอจำเป็นต้องสอบตก ล้วนเป็นสิ่งที่ขัดขวางประสิทธิภาพของเธอในการทำข้อสอบ

ในเชิงเปรียบเทียบเด็กที่กล้าแสดงออกและคุ้นเคยกับการทำข้อสอบ อาจมีประเภทของปัจจัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสติปัญญาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตัวพวกเขา กล่าวคือมีหลายปัจจัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสติปัญญา แต่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของผู้เข้าทำแบบทดสอบทางไอคิว

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022 Dec 24].