จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 395: ปัญหาจากแบบทดสอบทางไอคิว (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 395: ปัญหาจากแบบทดสอบทางไอคิว (1)

อัลเฟรบิเน(Alfred Binet) พัฒนาแบบทดสอบทางไอคิว (IQ test) เพื่อแยกแยะระหว่างบุคคลปกติและบุคคลที่มีความบกพร่อทางสมอง โดยการแยกแยะนี้จะทำให้รู้ว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ และการศึกษาที่เฉพาะทางเพื่อสนับสนุนพวกเขา

แม้ว่าการวัดค่าทางสติปัญญาก่อนหน้านี้ อาจล้มเหลวแต่บิเนตและธีโอดอร์ ไซมอน (Theodore Simon) ก็ได้พัฒนาสิ่งที่วัดค่าทางสติปัญญาสำหรับเด็กได้สำเร็จ ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานของแบบทดสอบทางไอคิวที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามต้นปีคริสตทศวรรษ 1900s บิเนก็ค้นพบว่า มีความเป็นไปได้ที่แบบทดสอบทางไอคิว สามารถนำมาใช้ให้เกิดอันตรายได้

ดังนั้นเขาจึงได้มีการออกคำเตือนไว้ เรแบบทดอบทางไอคิวไม่ได้วัดค่าความสามารถที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดหรือสติปัญญาตามธรรมชาติ (Natural intelligence) แต่เป็นการวัดค่าความสามารถทางสติปัญญา ที่ส่งผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

แบบทดสอบทางไอคิว ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่นำมาใช้เพื่อบ่งบอกถึงบุคคลนั้นๆ เช่นบุคคลปัญญาอ่อน (Moron), บุคคลปกติทั่วไป (Average), หรือบุคคลอัจฉริยะ (Genius) แต่แบบทดสอบนำมาใช้เพื่อเข้าถึงความสามารถของแต่ละบุคคลและนำมาใช้ควบคู่กับข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อช่วยให้บุคคลนั้นๆ ตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางทางด้านการศึกษาของตนเอง

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครสนใจกับสิ่งที่บิเนตได้เตือนไว้ ต้นปีคริสตศวรรษ 1900s เนื่องจากมีคนนำแบบทดสอบทางไอคิวมาใช้ เพื่อวัดค่าความสามารถที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และนำมาใช้เพื่อตัดสินใจว่า บุคคลนั้นเป็นบุคคลประเภทปัญญาอ่อนหรืออัจฉริยะ

สภานิติบัญญัติของสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการถึงขั้นออกกฎหมายจำกัดผู้อพยพโดยพิจารณาจากระดับสติปัญญาที่มีมาแต่กำเนิด ผ่านการใช้คะแนนจากแบบทดสอบทางไอคิวในการแยกแยะชนชาติและการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม ซึ่งบางอย่างยังถูกส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน เช่น หนังสือเรื่อง “ระฆังคว่ำ (The Bell Curve)” ที่กล่าวถึงสาเหตุของคะแนนไอคิวจากชนชาติที่แตกต่างกันเกิดขึ้นจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรม

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากแบบทดสอบทางไอคิวคือการแบ่งแยกชนชาติ, ความเชื่อที่บิดเบือนเกี่ยวกับวัฒนธรรม (Cultural bias), เสรีภาพทางวัฒนธรรม (Culture-free IQ tests), และปัจจัยที่ไม่ด้เกิดขึ้นจากสติปัญญา (Non-intellectual factor)

หลายกรณีในชั้นศาล ได้มีความเกี่ยวข้องกับการนำแบบทดสอบทางไอคิวมาใช้ตัวอย่างเช่นกรณีของแลรี่ (Larry) โดยเขาเป็นเด็กชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่จำเป็นต้องเรียนห้องเรียนพิเศษ สำหรับบุคคลปัญญาอ่อน เพียงเพราะเขาได้รับคะแนนจากแบบทดสอบทางไอคิวต่ำกว่า 85 คะแนน

แต่ในหลายปีต่อมานักจิตวิทยาชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้ทำการทดสอบความสามารถทางสติปัญญาของแลรี่อีกครั้งและพบว่าคะแนนที่เขาได้รับสูงกว่า 85 คะแนน ขาจึงได้ออกจากห้องเรียนพิเศษและได้ย้ายเข้าไปอยู่ห้องเรียนทั่วไป

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022, Dec 3].
3. Alfred Binet - https://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Binet [2022, Dec 3].
4. Theodore Simon - https://en.wikipedia.org/wiki/Th%C3%A9odore_Simon
[2022. Dec 3].