จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 394: คะแนนจากข้อสอบทางสติปัญญา (4)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 27 พฤศจิกายน 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 394: คะแนนจากข้อสอบทางสติปัญญา (4)
ตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ มาซูด (Masoud) มีคะแนนไอคิวมากกว่า 200 ซึ่งทำให้เขาถูกจัดอยู่ในบุคคลประเภทที่เรียกว่าอัจฉริยะ หากเปรียบเทียบตัวเขาอยู่ในกราฟระฆังคว่ำ เขาจะจัดอยู่ส่วนปลายเส้นด้านขวาของกราฟ
แม้ว่านักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “อัจฉริยะ” แตกต่างกัน แต่ความสามารถของมาเซาด์เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับร่วมกันว่า เขาเป็นเด็กที่มีอัจฉริยภาพสูงทางด้านการศึกษา
อัจฉริยภาพโดยทั่วไปของเด็ก ได้รับการแปรผล ผ่านคะแนนจากแบบทดสอบไอคิวระหว่าง 130 - 150 แต่เด็กอัจฉริยะสูงจะมีคะแนนจากแบบทดสอบไอคิวมากกว่า 180 ขึ้นไป
เมื่ออยู่ในห้องเรียนปกติ เด็กที่อัจฉริยะจะเจอปัญหามากมาย เช่น พวกเขาจะถูกมองในมุมที่แตกต่างออกไปและถูกเรียกว่า เด็กเก่งเรียนหรือหนอนหนังสือ แต่พวกเขาจะไม่รู้สึกท้าทายกับสิ่งต่างๆ ในห้องเรียน ด้วยเหตุผลนี้นักวิจัยคนหนึ่งจึงแนะนำให้เด็กอัจฉริยะเรียนในหลักสูตรพิเศษ ที่สร้างความท้าทายและช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถของตนเอง
ลูวิส เทอร์แมน (Lewis Terman) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกจิตวิทยาการศึกษา (Educational psychology) และมีชื่อเสียงจากการศึกษาพันธุกรรมของเด็กอัจฉริยะ (Genetic studies of genius) ในปี ค.ศ. 1920 เขาได้คัดเลือกเด็กอัจฉริยะมากกว่า 1,500 คนที่มีไอคิวระหว่าง 130 - 200 (ค่าเฉลี่ยของไอคิวเด็กกลุ่มนี้คือ 151) และใน 65 ปีต่อมา นักวิจัยได้ทดสอบเด็กกลุ่มนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อดูว่าพวกเขามีความสำเร็จอะไร หลังจากมีการเปลี่ยนหลักสูตรการเรียน
แม้ว่า 10 - 30% ของผู้ชายในกลุ่มคนอัจฉริยะข้างต้นสามารถเรียนจบปริญญาระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายทั่วไป แต่ 30% ในกลุ่มนี้ เรียนมหาวิทยาลัยไม่จบและ 2% ถูกไล่ออกมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ บุคคลอัจฉริยะแสดงให้เห็นถึงสุขภาพ, การปรับเปลี่ยน, และความสำเร็จมากกว่าบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยไอคิวระดับปกติ แต่ประมาณ 9% มีปัญหาทางด้านอารมณ์รุนแรง และ 7% ฆ่าตัวตาย
ในกลุ่มของเด็กอัจฉริยะนี้ หลายคนประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสูง ตามที่นักวิจัยได้คาดการณ์เอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น แมริริน วอส ซาแวนส์ (Marilyn vos Savant) ผู้ที่มีอาชีพเป็นนักเขียนบทความนิตยสาร ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้มากมาย เนื่องจากเธอ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีไอคิวมากกว่า 200 ขึ้นไป
สรุปได้ว่า คะแนนจากแบบทดสอบไอคิว เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้ในการคาดเดาประสิทธิภาพทางด้านการศึกษา, ในการแยกแยะว่าบุคคลมีปัญหาทางจิตหรือไม่, และในการบ่งชี้ว่าบุคคลเหล่านั้น มีความเป็นอัจฉริยะหรือไม่ แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่แม่นยำ ที่จะนำมาใช้ในการคาดเดาประสิทธิภาพการทำงาน
เหตุผลหนึ่ง ก็คือคะแนนจากแบบทดสอบไอคิวไม่ได้วัดเกี่ยวกับด้านอารมณ์, แรงจูงใจ, และปัจจัยของแต่ละบุคคลที่มีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัย
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence quotient - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence_quotient [2022, November 26].
- Lewis Terman - https://en.wikipedia.org/wiki/Lewis_Terman [2022, November 26].