จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 374: คำถามเปลี่ยนคำตอบได้ไหม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 374: - คำถามเปลี่ยนคำตอบได้ไหม (2)

ได้มีการถกเถียงมากมายว่า ข้อมูลที่ผิดสามารถทับซ้อนข้อมูลดั้งเดิมได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทุกคนเชื่อเหมือนกันคือบางครั้งคนเราสามารถเชื่อว่า พวกเขาจดจำในสิ่งที่เขาไม่เคยเห็นได้เพียงแค่มีคนอื่นบอกพวกเขา ปรากฎการณ์ดังกล่าวเรียกว่าความผิดพลาดของหน่วยความจำ (Source mis-attribution) คือความผิดพลาดทางความทรงจำที่ส่งผลให้คนเราเกิดความลำบากใจในการตัดสินใจจากแหล่งที่มาของความทรงจำ (เป็นสิ่งที่คนเหล่านั้นเห็น, จินตนาการหรือถูกชี้นำ)

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคนเราเห็นอุบัติเหตุที่รถสีแดงเข้มชนแล้วหนี และต่อมาได้มีคนเข้ามาสอบถามถึงสีรถคันดังกล่าวในขณะที่พวกเขากำลังนึกถึงว่ารถคันนั้นเป็นสีแดงเข้ม ก็ได้ยินจากผู้เห็นเหตุการณ์อีกคนพูดว่ารถคันนั้นเป็นสีน้ำเงินเข้ม

แหล่งที่มาของความผิดพลาดของหน่วยความจำเกิดขึ้นถ้าบุคคลข้างต้นพูดว่า รถคันนั้นเป็นสีน้ำเงินเข้ม (คำแนะนำที่ได้ยินมา) มากกว่าเป็นสีแดงเข้ม (สิ่งที่เขาเห็นจริง) นักวิจัยพบว่าการชี้นำที่ผิด, การตั้งคำถามเพื่อชี้นำไปในทางที่ผิด, และข้อมูลที่ผิด สามารถส่งผลต่อแหล่งข้อมูลในความผิดพลาดของหน่วยความจำและสร้างความทรงจำที่ผิดขึ้นมา

ความทรงจำที่ผิด อาจส่งผลจากความผิดพลาดของหน่วยความจำเช่น การชี้นำหรือการตั้งคำถามที่ผิดเป็นเหตุผลที่ศาลได้สอบถามถึงความแม่นยำของคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์ สมมุติว่าผู้เห็นเหตุการณ์การโจรกรรมกำลังเกิดความสับสนในขณะที่ชี้ตัวผู้ร้าย เพื่อให้พวกเขาสามารถนึกถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ อาจเกิดการตั้งคำถามจากตำรวจโดยใช้ขั้นตอนที่เรียกว่า การสัมภาษณ์เชิงรับรู้ (Cognitive interview)

การสัมภาษณ์ข้างต้นเป็นเทคนิคสำหรับการตั้งคำถามผู้คน ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เห็นเหตุการณ์จินตนาการและก่อรูปข้อมูลขึ้นมาใหม่โดยอิงจากรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งรายงานทุกสิ่งที่พวกเขาจดจำได้ทั้งหมดและชี้นำเหตุการณ์นั้นในมุมมองที่แตกต่างกัน

เทคนิคการสัมภาษณ์นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับอาชีพตำรวจ ในขณะที่พวกเขาใช้สอบปากคำ นักสืบได้มีการฝึกฝนเกี่ยวกับเทคนิคการสัมภาษณ์นี้โดยการได้รับ  47 - 60% ของข้อมูลจากผู้เคราะห์ร้ายและผู้เห็นเหตุการณ์ มากกว่าวิธีการสอบสวนขั้นพื้นฐานของตำรวจ

นักวิจัยสรุปว่า ครั้งหนึ่งที่ตำรวจเริ่มฝึกฝนเกี่ยวกับขั้นตอนการสัมภาษณ์เชิงปัญญานี้ โดยเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มการนึกถึงข้อมูลที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำหรือการให้ข้อมูลที่ผิด โดยอาจส่งผลให้เกิดความทรงจำที่ไม่ถูกต้องและเพิ่มอัตราความผิดพลาดจากความผิดพลาดของหน่วยความจำ

นักจิตวิทยาได้ตอบหลายคำถามว่าทำไมผู้เห็นเหตุการณ์สามารถถูกชี้นำไปในทางที่ผิด เช่นเดียวกับการพัฒนาความน่าเชื่อถือของคำให้การของพวกเขา ซึ่งยอาจส่งผลถึงการชี้เป็นชี้ตายจากการตัดสินใจนั้นๆ โดยอิงจากเรื่องดังกล่าว สหราชอาณาจักรจะไม่เชื่อถือข้อมูล หากมีคดีที่ได้รับหลักฐานมาจากผู้เห็นเหตุการณ์เพียงอย่างเดียว ส่วนในสหรัฐอเมริกาศาลหลายแห่งก็ ได้อนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผู้เหตุการณ์ เพื่อที่คณะลูกขุนจะได้ตระหนักถึงทฤษฎีทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Jun 11].
  3. Elizabeth Loftus - https://en.wikipedia.org/wiki/Elizabeth_Loftus [2022, Jun 11].