จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 373: คำถามเปลี่ยนคำตอบได้ไหม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 373: คำถามเปลี่ยนคำตอบได้ไหม (1)

เนื่องจากมีการกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์ อลิสซาเบธส์ ลอฟตัส (Elizabeth Loftus) ได้ทำการศึกษาว่าคนเราสามารถถูกนำไปในทางที่ผิดหรือลืม โดยเฉพาะเวลาที่พวกเขาได้รับข้อมูลที่ผิด ได้หรือไม่

ในการทดลองของลอฟตัสได้มีการเปิดฉากให้ผู้เข้าทดลองได้เห็นเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรถยนต์และได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเห็น โดย 1 คำถามในนั้นจะมีข้อมูลลที่ผิดแฝงอยู่

ตัวอย่างคำถามเช่น “รถสปอร์ตสีแดงวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่บนถนนต่างจังหวัดในขณะที่ขับผ่านโรงนา” แม้ว่าไม่มีโรงนาในฉากแต่ 17% ของผู้เข้าทดลองบอกว่าพวกเขาเห็นมัน  โดยบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้คนอาจเชื่อเกี่ยวกับข้อมูลที่ผิดถ้าภาพรวมของมันเป็นสิ่งที่ดูเหมาะสม หรือเกี่ยวโยง

ในการทดลองของลอฟตัสมีการให้ผู้เข้าทดลองดูภาพเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางจรจรที่มีป้าย “`หยุด” อยู่ในภาพและต่อมาได้มีการตั้งตำถามเกี่ยวกับอุบัติเหตุนี้ให้กับพวกเขา

บางคำถามที่ใช้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการชี้นำที่ผิด ซึ่งจะถามเกี่ยวกับป้ายสัญญานหยุดที่มีในภาพ ส่วนคำถามอื่นได้มีการจงใจถามเพื่อชี้แนวทางที่ผิด และไม่มีการพูดถึงป้ายสัญญานหยุด แต่พูดถึงการมีอยู่ของป้ายให้ทาง จึงทำให้ผู้เข้าทดลองสับสนได้

ต่อมาได้มีการถามผู้เข้าทดลองว่าพวกเขาเห็นป้ายหยุดหรือป้ายให้ทางหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เข้าทดลองที่ถูกชี้นำไปในทางที่ผิดโดยคำถามก่อนหน้านี้ เห็นป้ายให้ทางมากกว่าผู้เข้าทดลองที่ไม่ได้ถูกชี้นำไปในทางที่บิดเบือน

ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าทดลองสามารถถูกชี้นำไปในทางที่ผิด ถ้าพวกเขาได้รับข้อมูลที่ผิด แต่ในภาพรวมมีความเกี่ยวโยงกัน โดยนักวิจัยหลายท่านได้มีการนำการทดลองนี้มาทำซ้ำ

งานวิจัยลอฟตัสและร่วมกับนักวิจัยอีกคนหนึ่งชื่อ ฮอปแมน (Hoffman) สรุปว่าถ้ามีข้อมูลที่ชี้นำไปในทางที่ผิด ถูกแนะนำเข้าไปในคำถามหลังจากที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น คนเราอาจจะเชื่อในข้อมูลที่ผิดและรายงานเกี่ยวกับข้อมูลที่พวกเขาไม่เคยเห็นออกมา

สอดคล้องกับงานวิจัยของลอฟตัส ผู้เห็นเหตุการณ์จะเชื่อข้อมูลผิดที่มีคนบอกพวกเขา มากกว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นจริง เพราะข้อมูลที่ผิดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงหรือทับซ้อนข้อมูลดั้งเดิมที่เป็นข้อมูลจริง

งานวิจัยนี้สร้างข้อถกเถียงและการค้นคว้าอย่างมากมาย สรุปให้เห็นว่า คนเราสามารถจดจำในสิ่งที่ผิด เพราะความทรงจำสามารถจับคู่กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้ (ความทรงจำที่ถูกต้องถูกลบหรือทับซ้อน)

อย่างไรก็ตามนักวิจัยบางท่านเชื่อว่า ความทรงจำดั้งเดิมที่ถูกต้องจะยังอยู่ในสมองของเรา แต่เป็นเรื่องยากที่จะเรียกกลับคืน อย่างไรก็ตาม ทุกงานวิจัยบ่งชี้ให้เห็นว่า คนเราสามารถลืมเมื่อได้รับข้อมูลที่ผิด

 

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Jun 4].
  3. Elizabeth Loftus - https://en.wikipedia.org/wiki/Elizabeth_Loftus [2022, Jun 4].