จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 372: ความแม่นยำของผู้เห็นเหตุการณ์ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 372: ความแม่นยำของผู้เห็นเหตุการณ์ (2)

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้พูดถึงการสันนิฐานว่าสาเหตุที่ทำให้เธอชี้ตัวผู้ร้ายผิดคนเกิดจาก 3 ประเด็น และเราได้พูดถึงประเด็นแรกคือคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ มีอคติทางเชื้อชาติ (Own-bias)

 

ในสัปดาห์นี้ เราจะพูดถึงประเด็นที่ 2 ซึ่งเกิดจากการที่ทุกคนเชื่อว่า ยิ่งผู้ที่ชี้ตัวมีความมั่นใจมากเท่าไร ยิ่งมีความแม่นยำสูงว่าคนที่ถูกชี้ตัวคือผู้ร้ายตัวจริง ยกตัวอย่างเช่นในคดีที่ผู้หญิงผู้ที่ถูกข่มขืนได้แสดงท่าทีมั่นใจโดยการพูดว่า “อย่างไม่ต้องสงสัย” ว่าเขาคือผู้ร้าย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับการทบทวนของผู้เห็นเหตุการณ์พบว่า มีความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนระหว่างการชี้ตัวถูกคนdกับระดับความมั่นใจที่ผู้เห็นเหตุการณ์

สุดท้ายผู้เห็นเหตุการณ์อาจเกิดความผิดพลาด ถ้าศาลตั้งคำถามที่นำพาเธอไปในทิศทางที่ผิด หรือได้สร้างอคติในใจเธอ ในกรณีนี้ผู้เห็นเหตุการณ์เองอาจไม่รู้ตัวว่า เขาได้ยอมรับข้อมูลที่ผิดว่าเป็นข้อจริง โดยทำให้คำให้การของเธอผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น การตระหนักถึงคำให้การของการชี้ตัวผู้ร้ายผิดคน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการโจรกรรมอาวุธเกิดขึ้นในเมืองวิลมิงตัน (Wilmington) พื้นที่ในรัฐเดลาแวร์ (Delaware) โดยที่ตำรวจมีหลักฐานเพียงน้อยนิด ทำให้คนท้องถิ่นกล่าวหาว่านักบวชชาวคาทอลิก หรือหลวงพ่อเบอนาร์ด ปากาโน่ (Bernard Pagano) มีรูปร่างคล้ายกับรูปสเก็ตของผู้ร้าย

โดยการทดลองผู้เห็นเหตุการณ์ 7 คนได้ชี้ตัวหลวงพ่อเบอรนาร์ดว่าเป็นผู้ร้าย แต่ช่วงนาทีสุดท้ายมีบุคคลอีกคนหนึ่งได้เดินออกมาซึ่งมีว่า โรนาล์ด คลาวเซอร์ (Ronald Clouser) สารภาพว่าเขาคือผู้ร้ายตัวจริง จากนั้นจึงมีการปล่อยตัวนักบวช

จากรูปลักษณ์ โรนาล์ดที่มีตัวที่เตี้ยกว่าและอายุน้อยกว่านักบวช 14 ปี และผมของเขาก็ยังไม่ล้าน เมื่อเปรียบเทียบกับนักบวช นอกจากนั้นพวกเขา 2 คนยังมีโครงหน้าที่ต่างกัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เห็นเหตุการณ์ทั้ง 7 คน ชี้ตัวบาทหลวงว่าเป็นผู้ร้าย เนื่องจากวิธีตั้งคำถามให้ผู้เห็นเหตุการณ์

การตั้งคำถาม หรือการให้ดูภาพสเก็ตของคนร้าย ทำให้ผู้เห็นเหตุการณ์รับรู้ล่วงหน้า และทางตำรวจก็ให้คำแนะนำเพื่อโน้มน้าวความเป็นไปได้ว่า ผู้ร้ายคือนักบวช

คำแนะนำนี้ทำให้ผู้เห็นเหตุการณ์เพ่งสมาธิเพียงเล็กน้อยไปที่จุดที่มีความคล้ายกับนักบวช และชี้ตัวว่าเขาคือผู้ร้ายเพราะนักบวชเป็นคนเดียวที่สวมใส่ปลอกคอเสมือน จึงทำให้พวกเขาสรุปว่านักบวชคือผู้ร้าย ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นได้ชัดว่า อาจเกิดอคติที่ส่งผลให้ผู้เห็นเหตุการณ์ชี้ตัวผู้ร้ายผิดคน

เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศแนวทางในการรวบรวมหลักฐานจากผู้เห็นเหตุการณ์ เพื่อเป็นการตักเตือนสถาบันทางกฎหมายถึงประเภทของความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นได้จากผู้เห็นเหตุการณ์

แหล่งข้อมูล

 

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, May 28].
  3. Bias - https://en.wikipedia.org/wiki/Bias [2022, May 28].