จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 371: ความแม่นยำของผู้เห็นเหตุการณ์ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 371: - ความแม่นยำของผู้เห็นเหตุการณ์ (1)

ผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้เห็นเหตุการณ์กำลังมีอารมณ์อ่อนไหว (Emotional) ขณะนึกถึงภาพรายละเอียดของชั่วโมงที่น่าหวาดกลัวในช่วงเวลาที่ผู้ชาย 2 คนบังคับให้เธอขึ้นรถและขับรถออก และต่อมาข่มขืนเธอที่เบาะหน้ารถ

เมื่อมีการถามผู้หญิงนั้นว่า หนึ่งในคนที่ข่มขืนเธอที่แสดงในห้องชี้ตัวผู้ร้ายคือใคร เธอได้ชี้ไปที่คนที่นั่งอยู่คนหนึ่งและพูดว่า “อย่างไม่ต้องสงสัย”

ผู้เห็นเหตการณ์ ได้นึกถึงหรือจดจำ ขณะสังเกตผู้ต้องสงสัยในช่วงที่เธอถูกรบกวน และเสียสมาธิกับเหตุการณ์ทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นอันส่งผลถึงความแม่นยำเพราะโดนกระทบจากสิ่งรบกวน (Interference)

ยกตัวอย่างเช่นคำให้การผู้หญิงคนข้างต้นเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ส่งจำเลย (ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร้าย) ให้เข้าเรือนจำหลังจากที่จำเลยใช้เวลา 10 ปีในคุก นักกฎหมายคนใหม่ได้หยิบยกประเด็นนี้มาตรวจผลดี เอ็น เอ (DNA = Deoxyribonucleic acid) ซึ่งในสมัยก่อนยังไม่มีนวัตกรรมนี้

ผลตรวจแสดงให้เห็นชัดเจนว่าน้ำอสุจิของผู้ร้ายตัวจริงไม่ตรงกับจำเลยที่ต้องเข้าเรือนจำ จึงทำให้ผู้ชายที่ถูกชี้ตัวให้เป็นผู้ผู้ร้าย ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ อ้างอิงจากหลักฐานผลตรวจ ดี เอ็น เอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ใช้ผู้กระทำผิดหรือผู้ร้ายตัวจริง

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นปัญหา 3 ข้อ จากคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ เริ่มจากคณะลูกขุนหลายคนเชื่อว่าคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์ คือหลักฐานที่ดีที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่แม่นยำและน่าเชื่อถือได้

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับคนที่กล่าวหาผู้ร้ายผิดคนว่าเป็นผู้ร้ายตัวจริงในสหรัฐอเมริกาและในอังกฤษ เปิดเผยว่าคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญอันดับ 1 ของหลักฐานทั้งหมดที่ใช้ในการเลือกจำเลยผิดคน

นักวิจัยได้คาดการณ์ว่าในสหรัฐอเมริกามีจำเลยมากกว่า 1,000 คนที่ถูกชี้ตัวผิดคน ในคดีความที่รุนแรงทุกปี ยกตัวอย่างเช่นผู้หญิงดังกล่าวข้างต้นในคดีถูกข่มขืน อาจจะชี้ตัวคนที่กระทำเธอผิดคนเพราะเธอถูกรบกวนจากสภาวะทางอารมณ์ซึ่งรุนแรงที่เกิดขึ้นอันส่งผลเสียแก่เธอ

อีกปัจจัยหนึ่ง คือผู้ที่ถูกกระทำเป็นคนขาวแต่ผู้ร้ายเป็นคนผิวสีนำ นำพาให้เกิดแหล่งข้อมูลที่ผิดพลาด นักวิจัยพบว่าเธอซึ่งที่เกิดมาเป็นชาวผิวขาวจะมีความแม่นยำที่น้อยลงถ้าต้องชี้ตัวผู้ร้ายที่ไม่ใช่ชาวผิวขาวแบบเธอ โดยเฉพาะถ้าเป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน

ยกตัวอย่างเช่นผู้เห็นเหตุการณ์มักพูดว่าก่อนหน้านี้เขาเห็นคนร้ายที่เป็นชาวผิวสีคนนั้น ขณะที่ความจริงเธอไม่ได้เห็น โดยการค้นพบว่าผู้คนสามารถจดจำใบหน้าคนที่เกิดมาในเผ่าพันธุ์เดียวกันได้ดีกว่าคนที่เกิดมาจากเผ่าพันธุ์อื่น เรียกว่า อคติทางเชื้อชาติ (Own-race bias) อคติดังกล่าวทำให้ลดความแม่นยำของคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์

 

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, May 21].
  3. Bias - https://en.wikipedia.org/wiki/Bias [2022, May 21].