จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 369: - ปลูกฝังความทรงจำที่ผิดได้ไหม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 369: - ปลูกฝังความทรงจำที่ผิดได้ไหม (1)

ทุกปีในสหรัฐอเมริกา (United States) มีการสอบถามเด็กมากกว่า 10,000 คนเพื่อทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งในบางกรณีพบว่าคำให้การของเด็กพวกนั้นเป็นเรื่องจริงและเชื่อถือได้ แล้วต่อมาสามารถคลี่คลายคดีได้

แต่อีกกรณีโดยเฉพาะมีการเชื่อมโยงเกี่ยวกับศูนย์พิทักษ์เด็ก ได้ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับสิ่งไม่ปกติหรือการปฏิบัติทางเพศที่ไม่ปกติอันก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของคำให้การ

ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการตีพิมพ์เรื่องของมาร์กาเร็ต เคลลี่ (Margaret Kelly Michael) ครูเด็กอนุบาลสาวอายุวัย 26  ปีถูกกล่าวหาว่าในขณะที่เธอกำลังเล่นเปียโนโดยไม่ใส่เสื้อผ้า ได้มีการให้เด็กดื่มปัสสาวะของเธอและมีการข่มขืนกระทำเราเด็กแล้วยังมีการเลียเนยถั่วบนอวัยวะเพศของเด็ก

เคลลี่ถูกตัดสินว่าผิดกว่า 115 กระทง ของคดีล่วงละเมิดทางเพศ ที่กล่าวหาว่าเธอกระทำต่อเด็กจำนวน 20  คน (อายุประมาณ 3 - 5 ขวบ)

หลังจากที่เธอใช้ชีวิต 5 ปีในเรือนจำแล้ว ได้มีการรื้อคดีความของเธออีกครั้งจากศาลชั้นสูง เพราะมีการตะหนักว่าการให้การของเด็ก 19 คน ไม่มีความน่าเชื่อถือพอ อันสาเหตุจากการสัมภาษณ์ที่ไม่ถูกต้องของนักบำบัด

การสัมภาษณ์ที่ไม่ถูกต้องอาจเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ ที่นักบำบัดให้คำแนะนำและคำถามเฉพาะทางซ้ำๆ โดยอาจปลูกฝัง (Implanted) ความทรงจำที่ผิดหรือบิดเบือน (False memory) ให้เด็ก

การตระหนักอย่างจริงจังเกี่ยวกับประเด็นนี้ นำพาให้นักวิจัยได้ศึกษาว่า ความทรงจำที่ผิดสามารถถูกปลูกฝังเข้าไปในสมองของเด็กเล็กได้ไหม?

เมื่อมีการสอบถามเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก พนักงานหรือนักบำบัดจะมีการให้คำแนะนำซ้ำๆ ว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น ซึ่งการให้คำแนะนำซ้ำๆ สามารถสร้างความทรงจำที่ผิดในเด็กเล็กได้ไหม?

เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งนี้ นักจิตวิทยา สตีเฟน เซไซ (Stephen Ceci) และเพื่อนร่วมทีมของเขาศึกษากลุ่มเด็กอายุ 3 – 6 ขวบ จำนวน 96 คน ที่มาจากห้องเรียนวิชาสังคมศาสตร์ จากหลายพื้นที่ เพื่อศึกษาว่าเราสามารถปลูกฝัง (Implanted) ความทรงจำที่ผิดหรือบิดเบือน (False memory) ให้เด็กเล็กได้ไหม?

ทีมนักวิจัยได้สัมภาษณ์พ่อแม่ของเด็กที่เข้ามาทดลองเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นระหว่าง 12 เดือนที่ผ่านมาในชีวิตของเด็กพวกนั้น เช่นการสร้างความประหลาดใจ (Surprise) ในงานฉลองวันเกิด, การพาไปเที่ยวที่สวนสนุก, อุบัติเหตุที่ทำให้เคยบาดเจ็บ, หรือการตายไปของสัตว์เลี้ยง

ต่อมาได้มีการให้เด็กแต่ละคนอ่านรายการดังกล่าว โดยที่เหตุการณ์บางอย่างในรายการเป็นเรื่องสมมุติ และมีการให้เด็กคิดอย่างละเอียดว่ามีเหตุการณ์ไหนที่เคยเกิดขึ้นกับพวกเขาบ้าง?

 

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, May 7].
  3. Stephen J. Ceci - https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_J._Ceci [2022, May 17].