จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 368: ประเภทตัวชี้นำความทรงจำ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 1 พฤษภาคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 368: - ตัวชี้นำความทรงจำ (2)
วัฒนธรรม (Culture) ที่ต่างกันส่งผลให้คนเรามีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน นักวิจัย จูดิตห์ (Judith Kearins) ได้พัฒนาข้อสอบที่เน้นการใช้ตัวชี้นำความทรงจำ (Retrieval cues) ทางรูปภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ชาวพื้นเมืองแถบออสเตรเลียตะวันตก ซึ่งมีการเข้ารหัสทางรูปภาพที่ดีกว่า สามารถเรียนรู้และทำคะแนนได้ดีกว่าผู้อยู่ในตัวเมือง
ถ้ามีการสร้างแบบทดสอบที่เหมาะสม โดยรวบรวมการมองสิ่งของ 20 อย่าง ที่วางอยู่บนกระดานที่มีการแบ่งเป็น 20 ช่องสิ่งของบางส่วนมาจากธรรมชาติเช่น หิน, ขนนก, ใบไม้ และสิ่งของที่เหลือเป็นสิ่งของจากอุตสาหกรรมเช่น ยางลบ, แหวน, และปลอกนิ้ว
วิจัยผู้นี้ ให้ชาวพื้นเมืองและวัยรุ่นที่อาศัยในแหล่งอุตสาหกรรมเรียนรู้สิ่งของบนกระดาน 30 วินาที แล้วต่อมาได้รวมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ตรงกลางกระดาน เพื่อให้ผู้เข้าทดสอบเรียงลำดับกลับให้ทุกช่องที่พวกมันเคยวางเอาไว้
ผลปรากฏว่า วัยรุ่นชาวพื้นเมือง 44 คน ที่ถูกเลี้ยงดูแบบชาวชนเผ่า อันพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย สามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 แบบไม่เป็นทางการ ได้ในเวลาไม่นาน
ตอนนี้นักเรียนพื้นเมือง 44 คน เพิ่งได้เข้าโรงเรียน โดยร่วมเรียนกับนักเรียนในเมือง ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ จูดิตห์ได้ทำการทดสอบกลุ่มวัยรุ่นโดยใช้แบบทดสอบ 4 ชุดที่มีประเภทสิ่งของแตกต่างกัน อันเป็นของที่มาจากธรรมชาติทั้งหมด, ของที่มาจากอุตสาหกรรมทั้งหมด, และของที่นำมาผสมกัน
ผลสรุปพบว่าวัยรุ่นชาวพื้นเมืองสามารถแสดงผลลัพธ์ได้ดีกว่า ในการเอาสิ่งของเหล่านั้นวางถูกตามช่องที่กำหนดเมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นชาวเมือง นักวิจัยอีกกลุ่มได้ทำการทดสอบนี้ซ้ำกันกับประชากรที่มีอายุน้อยกว่าระหว่างชาวพื้นเมืองและชาวผิวขาวเมืองอุตสาหกรรมของประเทศออสเตรเลีย
จูดิตห์สรุปว่าชาวพื้นเมืองมีวิธีการเอาตัวรอดบนทะเลทรายที่มีสภาวะที่โหดร้าย ด้วยรูปแบบของพื้นดิน จึงส่งผลให้พวกเขามีความสามารถในการเข้ารหัสโดยตัวชี้นำความทรงจำทางรูปภาพ ในทางเดียวกันนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมมีความสามารถในการเข้ารหัสผ่านตัวชี้นำความทรงจำทางคำพูด
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีคำถามเกี่ยวกับการวางแผนนักเรียนชาวพื้นเมือง หลายคนบอกว่าพวกเขาสามารถจำรูปร่างของสิ่งของบนกระดานได้เท่านั้น ในขณะเดียวกัน นักเรียนผิวขาวชาวเมืองอธิบายแบบแผนขั้นตอนโดยมีรายละเอียดมากมาย
“ฉันดูแถวด้านล่างและจำรูปกระเทียม, ถั่ว, หิน, กระดูก, และแอปเปิ้ลได้” ซึ่งการอธิบายนี้เกื้อหนุนความคิดที่ว่าชาวพื้นเมืองใช้การเรียนรู้ผ่านตัวชี้นำความทรงจำทางรูปภาพ ในขณะที่ชาวผิวขาวในเมืองใช้ตัวชี้นำความทรงจำทางคำพูด
คำตอบที่น่าสนใจนี้ เพราะแสดงให้เห็นว่าวิธีการเอาตัวรอดของแต่ละวัฒนธรรมที่ได้ก่อรูปแนวทางการเข้ารหัสข้อมูลในความทรงจำ ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าชาวพื้นเมืองเรียกใช้ตัวชี้นำความทรงจำทางรูปภาพ อันมีอิทธิพลกับการเข้ารหัสและเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งนอกจากวัฒนธรรมแล้ว อายุของเด็กยังมีผลในการเข้ารหัสหรือเรียกใช้ข้อมูล
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Apr 30].
- Visual spatial memory in Australian Aboriginal children of desert regions - https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/0010028581900177 [2022, Apr 23].