จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 367: ประเภทตัวชี้นำความทรงจำ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 24 เมษายน 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 367: - ประเภทตัวชี้นำความทรงจำ (1)
สัปดาห์ที่ผ่านมาเราพูดถึง 2 ประเภทของการพัฒนาความทรงจำที่คนเราสามารถนำมาใช้ได้เพื่อพัฒนาตัวเอง สัปดาห์นี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับประเภทตัวชี้นำที่ (Cue) ที่แตกต่างกันซึ่งคนเรานำมาใช้เพื่อเข้ารหัสข้อมูล
สมมุติว่าเรามาอยู่ในสถานที่ที่โหดร้าย, กว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด, และมีทะเลทรายที่แห้งแล้ง ในโลกของออสเตรเลียตะวันตก ที่ซึ่งชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานกว่า 30,000 ปี
ชาวพื้นเมืองดังกล่าวสามารถเอาตัวรอดโดยการใช้วิธีการคิดแบบภาพเสมือน เพื่อจดจำสถานที่ที่มีน้ำ, อาหาร, และพื้นที่ทำกิจกรรม ได้อย่างแม่นยำภาย ในประเทศที่ไม่มีแผนที่บอกพิกัดของสถานที่ต่างๆ
แม้ว่าชาวพื้นเมืองดังกล่าวไม่มุ่งเน้นการเขียนเพื่อจดบันทึก แต่วิธีการเอาตัวรอดในทะเลทรายที่แห้งแล้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บหรือการเข้ารหัสข้อมูลทางภาพ (สถานที่สำหรับอาหาร, น้ำ, และทำกิจกรรม)
เนื่องจากไม่มีความสามารถในการอ่านและการเขียน วิธีการหลักของชาวพื้นเมืองข้างต้นก็คือ การเข้ารหัสข้อมูลเกี่ยวกับทะเลทรายโดยตัวนี้นำทางรูปภาพที่เห็น (Visual retrieval cues) ซึ่งต่อมาพวกเขาสามารถนึกถึงและใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้
อีกมุมหนึ่ง ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองอุตสาหกรรมที่มีวัฒนธรรมแบบชาวเมือง เอาชีวิตรอดโดยการพึ่งพาความสามารถในการอ่านและการเขียน แล้วจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากผ่านการพูด, การเขียน, และการใช้เทคโนโลยี
ในการเอาตัวรอดที่ประสบความสำเร็จของชาวเมือง พึ่งพาความสามารถในการจัดเก็บหรือเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากผ่านการเขียนและการพูดโดยการใช้ตัวชี้นำทางคำพูด
ตัวอย่างทั้ง 2 ข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นถึงการเอาชีวิตรอดของคนพื้นเมืองกับชาวเมืองที่อยู่ในสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน ผ่านข้อมูลทางรูปภาพและข้อมูลทางคำพูด (ตามลำดับ)
ความแตกต่างระหว่าง 2 วัฒนธรรมนี้ แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถแสดงแบบทดสอบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อสอบนั้นเน้นย้ำตัวชี้นจินตนาการผ่านทางภาพหรือผ่านทางคำพูด
นักจิตวิทยาจูดิธ เคียรินส์ (Judith Kearins) ไม่มีความประหลาดใจที่ชาวพื้นเมืองแถบออสเตรเลียตะวันตก ทำคะแนนได้น้อยกว่า ในแบบทดสอบประเภทวัดระดับความฉลาด เพราะข้อสอบจำพวกนี้เน้นย้ำไปในทางตัวชี้นำทางคำพูด จึงทำให้พวกเขาเสียเปรียบ
ในการคำนึงถึงวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง นักจิตวิทยาท่านนี้ข้องใจว่า พวกเขาสามารถทำคะแนนได้ดีกว่าแบบทดสอบที่ความสามารถพวกเขามีความได้เปรียบ กล่าวคือแบบทดสอบประเภทการเข้ารหัสทางตัวชี้นำแบบรูปภาพ
ดังนั้น เพื่อทำให้เห็นได้ชัดว่าชาวพื้นเมืองสามารถเข้ารหัสทางภาพได้ดีกว่า จูดิธ เครียรินส์ จึงได้พัฒนาข้อสอบที่เน้นย้ำตัวชี้นำทางรูปภาพสำหรับพวกเขา เพราะชาวพื้นเมืองสามารถเรียกใช้ความทรงจำทางรูปภาพได้ดีกว่าทางคำพูด
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Apr 23].
- Visual spatial memory in Australian Aboriginal children of desert regions - https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/0010028581900177 [2022, Apr 23].