จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 366: - การพัฒนาความทรงจำ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 366: - การพัฒนาความทรงจำ (2)

ต่อมาขั้นตอนที่ 2 คือการสร้างความเชื่อมโยงให้เห็นภาพชัดแจ้งในสิ่งต่างๆ ที่ต้องการจดจำ ยกตัวอย่างเช่น วุนดท์ กำลังห้อยตัวอยู่ที่สะพานและพูดคำว่า “ฉันวุนดท์กำลังกระโดด”

สุดท้ายคือขั้นตอนที่ 3 เกิดขึ้นหลังจากที่คนเราสร้างรายการของความเชื่อมโยงอันเห็นภาพชัดแจ้ง โดยการใช้จิตใจเพื่อจินตนาการชื่อของนักจิตวิทยาข้างต้นให้ไปอยู่ในสถานที่ที่เราเลือก ยกตัวอย่างเช่นวุนดท์ อยู่ในอ่างล้างจาน, เจมส์อยู่ในตู้เก็บของ, และวัตสันอยู่ในตู้เย็น

ประเภทที่ 2 คือขั้นตอนของการปักหมุด (Pegs method) อันเป็นเครื่องมือช่วยจำที่มีประสิทธิภาพสำหรับรายการที่มีความยาว โดยเฉพาะต้องให้ลำดับเรียงอย่างถูกต้อง ประเภทขั้นตอนนี้คือเทคนิคการเข้ารหัสโดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวเลขและคำพูดคล้องจองกับสิ่งที่เราต้องการจดจำ

คำคล้องจองแสดงหน้าที่เหมือนกับหมุดที่คอยปักไปยังสิ่งของต่างๆ ที่เราต้องการจดจำ โดย 2 ขั้นตอน กล่าวคือขั้นตอนที่ 1 ให้จดจำรายการคำศัพท์ของการปักหมุดที่ใช้คำคล้องจองระหว่างตัวเลขและคำศัพท์เช่น 1 คือขนมปัง (One is a bun), 2 คือรองเท้า (Two is a pair of shoes), 3 คือต้นไม้ (Three is a tree), 4 คือประตู (Four is a door) และ 5 คือรังผึ้ง (Five is a hive) 

ขั้นตอนที่ 2 คือการสร้างความเชื่อมโยงของแต่ละสิ่งที่คนเราต้องการจดจำ กับคำศัพท์ของการปักหมุดเช่น จินตนาการภาพวุนดท์ที่อยู่บนขนมปัง, เจมส์ที่มีรองเท้า 2 ข้าง, และวัตสันที่ติดอยู่บนต้นไม้ ในการจดจำ 3 ชื่อของนักจิตวิทยาโดยใช้ขั้นตอนเหล่านี้ คนเราสามารถนึกถึงกลุ่มคำศัพท์ปักหมุดพร้อมกับรูปภาพของนักจิตวิทยาที่เราได้วางไว้ในแต่ละคำ

นักเขียนนิตยสารชาวอเมริกันท่านหนึ่งมีอายุ 41 ปีและชอบบ่นว่าเธอเป็นคนขี้ลืม ได้ตัดสินใจพัฒนาความทรงจำของเธอโดยพยายามใช้ 3 ขั้นตอนดังนี้ เริ่มจาก 1 เธอใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการเรียนวิชาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยอาจารย์ของเธอ เน้นการสอนโดยใช้ขั้นตอนการช่วยจำของการปักหมุด ซึ่งทำให้เธอสามารถจำชื่อนักเรียน 11 คนในห้องเรียนได้ นักเขียนท่านนี้สรุปว่าเธอพึงพอใจในขั้นเหล่าตอนนี้ และถ้าเธอย้อนกลับไปในสมัยเรียนมหาวิทยาลัยได้ เธอจะเลือกใช้ขั้นตอนนี้ในการจำข้อเท็จจริงต่างๆ ในห้องเรียน

ต่อมาเธอได้ฟังรายการในเทปเสียงที่บอกว่าจะช่วยปลดปล่อย “ความทรงจำทางภาพได้ดีเลิศ” อันมีอยู่ในตัวทุกคน แต่นักวิจัยเกี่ยวกับความทรงจำรายงานว่า ความทรงจำทางภาพเป็นสิ่งที่พบเจอได้ยาก ซึ่งในรายการเทปเสียงเน้นย้ำถึงการใช้ขั้นตอนการช่วยจำของการปักหมุด แต่ไม่ได้อธิบายว่ามันทำงานกับสิ่งต่างๆ อย่างไร นอกจากให้จดจำรายการต่างๆ

เธอได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาความทรงจำที่อธิบายถึงขั้นตอนของการปักหมุดว่า เราสามารถเพ่งความสนใจได้อย่างไรและความสำคัญของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรูปภาพ จากที่นักเขียนท่านนี้ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับภาพประกอบ การพัฒนาความทรงจำต้องการความตั้งใจในการเข้ารหัสที่ดีเช่น การฝึกซ้อมอย่างละเอียดอ่อนอันหมายความว่าเป็นการสร้างความเชื่อมโยงที่ดีเพื่อผลิตตัวชี้นำที่ดมีคุณภาพในการพัฒนาความทรงจำ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Apr 16].
  3. Daniel Schacter - https://en.wikipedia.org/wiki/Daniel_Schacter [2022, Apr 16].