จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 365: - การพัฒนาความทรงจำ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 10 เมษายน 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 365: - การพัฒนาความทรงจำ (1)
ในหลายครั้งคนเรามักบ่นเกี่ยวกับการลืมอะไรบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาหลายคนชอบบ่นว่าลืมข้อมูลที่มั่นใจว่าตนเองรู้ แต่ไม่สามารถนึกถึงมันได้ในเวลาสอบ
การลืมประเภทนี้เกิดจากสาเหตุบางอย่างที่เกิดไจากสิ่งรบกวน (Interference) จากข้อมูลที่เคยศึกษามาเกี่ยวกับวิชาเรียนที่มีความเกี่ยวข้องกัน อันเกิดจากตัวชี้นำการเรียกใช้ (Retrieval cues) ที่ไม่ดีพอ (Poor)
นอกจากนี้ ความพยายามเรียนรู้ข้อมูล โดยการใช้การท่องจำ (Rote) หรือการจดจำโดยตรง หรือศึกษาแล้วไม่ได้ใช้การฝึกซ้อมที่ละเอียดอ่อน จะขาดการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลใหม่และข้อมูลเก่า
หลังจากที่คนเราอายุมากกว่า 40 ปี จะเริ่มบ่นเกี่ยวกับการลืมบางอย่างที่พวกเราไม่เคยลืมมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยนามว่าแดเนียล แชคเตอร์ (Daniel Schacter) ผู้มีอายุ 50 ปี บ่นว่าการอ่านนิตยาสารเมื่อ 15 ปีก่อน เขาสามารถอ่านและเข้าใจโดยมีตัวชี้นำ (Cue) แต่ตอนนี้ ถ้าเขาไม่อ่านมันโดยความตั้งใจและพยายามเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขาเคยรู้มาก่อนหรืออ่านซ้ำ เขาจะไม่สามารถจดจำมันได้
การลืมประเภทนี้เกิดจากตัวชี้นำที่ไม่ดีพอ อันส่งผลจากสิ่งรบกวนและไม่ได้ใช้เวลาในการสร้างการเชื่อมโยงที่มีความหมาย
ถ้าคนเราเคยได้ยินบทเรียนเกี่ยวกับความทรงจำ ที่อ้างว่ามันสามารถพัฒนาความทรงจำของเราได้ ซึ่งบทเรียนพวกนี้สอนเกี่ยวกับขั้นตอนการช่วยความทรงจำ (Mnemonic)
ขั้นตอนการช่วยจำคือ หนทางที่จะพัฒนาการเข้ารหัส (Encoding) และการสร้างตัวชี้นำที่ดีขึ้นโดยการก่อรูปความเชื่อมโยงที่ชัดแจ้งหรือรูปภาพที่ช่วยพัฒนาเรื่องการนึกถึง
โดยทั่วไป ขั้นตอนการช่วยความทรงจำมี 2 ประเภท ได้แก่ ขั้นตอนของตำแหน่ง (Loci) และขั้นตอนของการตอกหมุด (Peg) ที่สามารถช่วยในการพัฒนาความทรงจำของคนเร
ถ้าคนเราต้องการที่จะจดจำรายการของคำศัพท์, แนวคิด, หรือรายชื่อในลำดับเฉพาะ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการใช้ขั้นตอนของตำแหน่ง อันเป็นเทคนิคการเข้ารหัสที่สร้างความเชื่อมโยงทางภาพระหว่างสถานที่ ซึ่งอยู่ในความทรงจำกับสิ่งใหม่ เพื่อช่วยในเรื่องความทรงจำ
ขั้นตอนการจำของตำแหน่งมีอยู่ 3 ขั้นด้วยกัน โดยเราอาจยกตัวอย่างในการใช้ขั้นตอนนี้ โดยการจดจำชื่อนักจิตวิทยาสมัยก่อน อันได้แก่ วุนดท์ (Wundt), เจมส์ (James), และวัตสัน (Watson)
เริ่มจากขั้นตอนที่ 1 การจำรูปภาพสถานที่แบบเป็นลำดับ เช่น สถานที่ในห้องเช่าที่ซึ่งคนเราสามารถเก็บข้าวของได้ ต่อมาเลือกพื้นที่ที่สามารถจดจำได้ง่ายเช่น ห้องครัว (อ่างล้างจาน), ตู้เก็บของ, ตู้เย็น, เตาอบและตู้เสื้อผ้า
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Apr 9].
- Daniel Schacter - https://en.wikipedia.org/wiki/Daniel_Schacter [2022, Apr 9].