จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 364: - การสร้างความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 3 เมษายน 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 364: - การสร้างความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว (2)
นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของความทรงจำระยะสั้นและความทรงจำระยะยาว โดยศึกษาจากสมองของหนู (Mouse) และปลิงทะเล (Sea snail) ที่มีความซับซ้อนของระบบสมองที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์
นอกจากความทรงจำโดยดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically altering) ในสมองของหนูแล้ว นักวิจัยยังได้ศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำในปลิงทะเล ซึ่งมีระบบประสาทจำนวน 20,000 เซลล์ในสมอง อันเป็นจำนวนที่ดูเหมือนเยอะ แต่ก็ยังน้อยกว่ามนุษย์ ที่มีจำนวนเส้นประสาทมากกว่า 1,000,000,000 เซลล์ในสมอง
หลังจากที่ปลิงทะเลเรียนรู้สิ่งง่ายๆ เช่นการตรึงกล้ามเนื้อ เพื่อตอบสนองต่อแสงสว่าง นักวิจัยสามารถผ่า (Dissect) ระบบประสาทของปลิงทะเลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือกายภาพ อันเกี่ยวโยงกับการเรียนรู้ของปลิงทะเล
ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงการสื่อประสาทแบบเพิ่มศักยภาพ (Long-term potentiation : LTP) เป็นสิ่งที่นักวิจัยเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการก่อรูปของความทรงจำระยะยาว
คนเราสามารถเรียนรู้ชื่อของนกที่มีจะงอยปากใหญ่ (Toucan) โดยการพูดชื่อซ้ำไปซ้ำมาสักระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าคนเราสามารถเรียนรู้ชื่อนกได้ แต่เราก็ไม่เคยคำนึงว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เปลี่ยนสมองของคนได้อย่างไร?
หลังจากมีการวิจัยหลายปี นักประสาทวิทยาเชื่อว่าการเรียนรู้เปลี่ยนโครงสร้างและการทำงานของเส้นประสาทในสมองของคน เกิดขึ้นในกระบวนการอันซับซ้อนที่เรียกว่า LTP
ปรากฏการณ์ข้างต้นคือการเพิ่มขึ้นตัวรับรู้ของเส้นประสาทกระตุ้น หลังจากมีการพูดถึงสิ่งเร้านั้นซ้ำไปซ้ำมา ยกตัวอย่างเช่น การพูดชื่อ ซ้ำๆ จะเป็นการกระตุ้นเซลล์ประสาทซ้ำๆ จนสร้างปรากฏการณ์ LTP ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนทางเคมีและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในเซลล์ประสาท
การพูดชื่อ Toucan ซ้ำไปซ้ำมาโดยกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำๆ จะสร้างปรากฏการณ์ LTP โดยเปลี่ยนโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ประสาท ให้กลายเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นในอนาคตให้เร็วขึ้น
ปรากฏการณ์ LTP จึงมีความเชื่อมโยงกับชื่อ Toucan หากนึกถึงชื่อของนกพันธุ์นี้ และเป็นสิ่งพื้นฐานของความทรงจำระยะยาวนั่นเอง
บางงานวิจัยพบว่า เมื่อมีการบดบัง (Block) ทางพันธุกรรมหรือทางเคมี จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ LTP ในปลิงทะเล หรือหนูได้ แต่เนื่องจากสัตว์พวกนี้ไม่สามารถเรียนรู้การตอบสนองเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classically condition) ได้ ดังนั้น การบดบังของการเกิดปรากฏการณ์นี้ ทำให้ไม่สามารถเกิดการก่อรูปของความทรงจำระยะยาว
ด้วยเหตุผลนี้นักประสาทวิทยาหลายท่านเชื่อว่า ระบบการทำงานของปรากฏการณ์นี้ เปลี่ยนโครงสร้างของเซลล์ประสาทซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ในสัตว์และมนุษย์
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Apr 2].
- Joe Tsien - https://en.wikipedia.org/wiki/Joe_Z._Tsien [2022, Apr 2].