จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 363: - การสร้างความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 27 มีนาคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 363: - การสร้างความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว (1)
สมมติว่าคนเราดูหมายเลขโทรศัพท์ (555-9013) และพูดทบทวนในขณะที่กำลังต่อสาย นักวิจัยเชื่อว่าพวกเขากำลังจัดเก็บตัวเลขเหล่านั้นเข้าไปยังความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) โดยการใช้กลุ่มการเชื่อมโยงภายในของนิวตรอน (Neutrons) เรียกว่าส่วนประกอบทางประสาท (Neural assemblies)
ส่วนประกอบทางประสาทคือ กลุ่มของการเชื่อมโยงภายในนิวตรอนที่ทำงานโดยการให้ข้อมูลหรือสิ่งเร้า (Stimuli) ให้เป็นที่จดจำได้ และอยู่ในความทรงจำระยะสั้นในเวลาไม่นาน บางข้อมูล เช่นการทบทวนเบอร์โทรศัพท์ได้เปิดการใช้งานส่วนประกอบทางประสาทที่คงเบอร์โทรศัพท์ไว้ในความทรงจำระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าคนเราเบนความสนใจไปยังสิ่งอื่นก่อนที่จะเข้ารหัส (Encode) เบอร์โทรศัพท์ไปในความทรงจำระยะยาว กลุ่มของส่วนประกอบทางประสาทจะหยุดทำงานและทำให้ลืมเบอร์โทรศัพท์นั้น
นักวิจัยเชื่อว่าส่วนประกอบทางประสาทเป็นกลไกสำหรับการคงสภาพข้อมูลไว้ในความทรงจำระยะสั้น อย่างไรก็ตามการจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรในความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) มีความเกี่ยวข้องทางเคมีหรือการเปลี่ยนของโครงสร้างในนิวตรอน
คำถามที่ว่า ความทรงจำถูกสร้างในสมองได้อย่างไร? เป็นสิ่งที่ทำให้นักวิจัยสงสัยมากว่า 60 ปี พวกเขาพยายามที่จะเข้าใจว่าความทรงจำสามารถสร้างโดยการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสมองหนู
ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยชื่อโจ เซียน (Joe Tsien) ได้ใส่พันธุกรรมพิเศษลงไปในไข่ของหนูที่กำลังเจริญพันธุ์ ซึ่งต่อมาได้เติบโตเป็นหนูที่แข็งแรง
พันธุกรรมพิเศษส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนในสมองหนู (สมองส่วนฮิปโปแคมปัส) ดังนั้นเซลล์สมองบางส่วน เช่น นิวตรอน สามารถสื่อสารโดยการสร้างความเชื่อมโยง (การติดต่อกันระหว่างเซลล์สมอง) ได้ดีขึ้น
นักวิจัยพบว่าการดัดแปลงพันธุกรรมหนู ทำให้เซลล์สมองสามารถสื่อสารระหว่างกันเองได้ดีขึ้น อันให้ผลลัพธ์ที่ทำให้หนูสามารถจดจำสิ่งของที่มันเคยสำรวจและสิ่งของใหม่ได้นานกว่า 4-5 เท่าเมื่อ เปรียบเทียบกับหนูที่มีสมองปกติ แต่ไม่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม
สมองหนูสามารถฉลาดขึ้นหรือโง่ลง ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมบางส่วนสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของนิวตรอน ดังนั้นการสื่อสารภายในสมองเพื่อสร้างความทรงจำของพวกมันอาจดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้
นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำโดยการดัดแปลงทางพันธุกรรมของสมองหนูแล้ว นักวิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำในปลิงทะเล เพราะว่าระบบประสาทของพวกมันมีประมาณ 20,000 นิวตรอนอยู่ด้านใน เมื่อเปรียบเทียบกับสมองของคนเราที่มีมากกว่า 1,000 ล้าน นิวตรอน ซึ่งเป็นโจทย์ที่น่าสนใจมิใช่น้อย
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Mar 26].
- Joe Tsien - https://en.wikipedia.org/wiki/Joe_Z._Tsien [2022, Mar 26].