จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 361: - พื้นฐานทางชีวภาพของความทรงจำ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 13 มีนาคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 361: - พื้นฐานทางชีวภาพของความทรงจำ (1)
ถ้าคนเราเรียนรู้สิ่งใหม่เพียง 500 อย่างทุกวัน จะเพิ่มจำนวนจัดเก็บเป็นประมาณ 180,000 หน่วย ของความทรงจำใหม่ทุกปี และประมาณ 3,600,000 หน่วยของความทรงจำทุก 20 ปี
แต่เป็นไปได้อย่างไรที่ 3,600,000หน่วยความทรงจำสามารถจัดเก็บในพื้นที่ใส่ของที่มีชีวิต (สมอง) ซึ่งมันไม่ได้มีความใหญ่ไปกว่าลูกเมล่อน (Melon) ผลเล็ก
นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory) และความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ในคนเราทั่วไป ตั้งแต่ผู้ป่วยที่สมองบางส่วนเสียหาย รวมทั้ง ลิง, หนู, กระต่าย, ไปจนถึงปลิงทะเล เพื่อต้องการค้นพบว่าความทรงจำสามารถจัดเก็บได้ในส่วนไหนของสมอง? และสามารถจัดเก็บได้อย่างไร?
คำตอบบางอย่างมาจากการศึกษาเชิงลึกของสิ่งมีชีวิตที่สมองเสียหาย อันแสดงให้เห็นถึงการสูญเสียความทรงจำบางประเภท ซึ่งบางคำตอบมาจากการพัฒนาแบบแผนล่าสุด ที่มีการถ่ายรูปจากกิจกรรมทั่วไปที่เกิดขึ้นในสมองที่ยังมีชีวิต ในขณะที่ผู้เข้ารับการทดลองกำลังมีส่วนร่วมเกี่ยวกับความทรงจำประเภทต่างๆ
บนพื้นฐานของการศึกษาข้างต้น ทำให้นักวิจัยสามารถแยกแยะพื้นที่ในสมองที่มีความเกี่ยวข้องกับประเภทความคิดและความทรงจำต่างๆ
ในขณะที่คนเราเห็นเบอร์โทรศัพท์ใหม่ พวกเขาสามารถจัดเก็บข้อมูลลงในความทรงจำระยะสั้นได้นานพอ เพื่อเชื่อมต่อสายเบอร์นั้น ความสามารถของคนเราที่จะคงสภาพความทรงจำในสมองเกี่ยวกับ คำศัพท์, ข้อเท็จจริง, และเหตุการณ์ในความทรงจำระยะสั้นขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในเยื่อหุ้มสมอง (Cortex)
เยื่อหุ้มสมอง เป็นชั้นบางๆ ของเซลล์ที่ปกคลุมพื้นผิวของสมอง คนเราอาจจะได้รับความเสียหายทางสมองที่ขัดขวางพวกเขาจากการจัดเก็บข้อมูลลงความทรงจำระยะยาว แต่ถ้าเยื่อหุ้มสมอง ไม่ได้รับความเสียหาย พวกเขาอาจมีความทรงจำระยะสั้นและสามารถพูดคุยได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม ถ้าคนเราไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลลงความทรงจำระยะยาว จะทำให้พวกเขาไม่สามารถจำเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองเคยพูดได้ในเวลาต่อมา
ถ้าคนเราเรียนรู้คำผ่านบทเพลง คำพวกนั้นจะถูกจัดเก็บลงในความทรงจำระยะยาว โดยความสามารถในการจดจำหรือการนึกถึงบทเพลง, คำศัพท์, ข้อเท็จจริง, และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในวัน, เดือน, หรือปี ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของสมองที่กระจายโดยรอบเยื่อหุ้มสมอง
คนเราอาจได้รับความเสียหายทางสมองที่ ขัดขวางพวกเขาจากการเรียนรู้หรือจดจำเพลงใหม่ อย่างไรก็ตามถ้าเยื่อหุ้มสมอง ไม่ได้รับความเสียหาย พวกเขาจะสามารถจดจำคำศัพท์จากเพลงที่เรียนรู้ในช่วงเวลาก่อนที่สมองจะได้รับความเสียหาย เหตุผลก็คือข้อมูลข้างต้นถูกจัดเก็บผ่านเปลือกหุ้มสมองอย่างปลอดภัย
แหล่งข้อมูล
1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Mar 12].