จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 360: -ตัวชี้นำการนึกถึงถึง (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 360: -ตัวชี้นำการนึกถึงถึง (2)

กรณีที่พยานชี้ตัวผู้ร้ายผิดคน จนทำให้ผู้ต้องหาผู้บริสุทธิ์ต้องใช้ชีวิตในเรือนจำอยู่หลายปี แต่พยานคนดังกล่าวก็ยังยืนกรานว่า เขาชี้ตัวผู้ร้ายถูกคน สาเหตุความผิดพลาดดังกล่าวคือ สภาวะทางอารมณ์และเหตุการณ์ที่ตื่นกระหนกได้ขัดขวางพยานจากการสร้างตัวชี้นำการนึกถึง (Retrieval cues) ที่มีประสิทธิผล และอีกเหตุผลที่พยานผิดพลาด เกิดจากสิ่งรบกวน (Interference) โดยใบหน้าของผู้ต้องหาค่อนข้างคล้ายคลึง ทำให้นึกถึงใบหน้าของผู้ร้ายตัวจริง

ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าการลืม สามารถส่งผลจากตัวชี้นำการนึกถึงที่ไม่ดีพอ, ไม่มีการเชื่อมโยง, หรือมีสิ่งรบกวน อีกตัวอย่างของการลืมอันมีความเกี่ยวข้องกับตัวชี้นำการนึกถึงและสิ่งรบกวนโดยส่วนใหญ่ เริ่มจากวลีที่คนเราชอบพูดว่า “มันติดอยู่ที่ปลายลิ้น (Tip-of-the-tongue)”

หลายคนมีประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกหงุดหงิดจากความรู้สึกที่เรารู้ชื่อของหนัง, บุคคล, หรือเพลง แต่ไม่สามารถนึกถึงในตอนนั้นได้ การลืมแบบนี้เรียกว่า ปรากฎการณ์ติดอยู่ที่ปลายลิ้น ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มั่นใจว่า เราสามารถนึกถึงบางอย่างได้ แต่ต่อให้พยายามมากแค่ไหน เราก็ไม่สามารถนึกถึงข้อมูลนั้นได้ชั่วขณะ ต่อมาในสถานการณ์ที่ต่างกันเราสามารถนึกถึงข้อมูลนั้นได้

นักวิจัยพบว่าปรากฎการณ์ข้างต้นเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไป โดยเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้งและส่วนใหญ่เกี่ยวโยงกับชื่อของบุคคลหรือสิ่งของ ซึ่งความถี่ในการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์นี้ขึ้นอยู่กับอายุ และประมาณครึ่งหนึ่งเราสามารถจำได้ในไม่กี่นาทีถัดมา

ในบางกรณีข้อมูลมีการเข้ารหัส (Encode) ตัวชี้นำการนึกถึง ที่ไม่เพียงพอ คนเราจึงต้องนึกถึงสิ่งเชื่อมโยงอื่น (ตัวอักษรแรกของชื่อ, ครั้งสุดท้ายที่เขาเห็น, ฯลฯ) เพื่อการนึกถึง และในอีกกรณีหนึ่งก็คือ ข้อมูลถูกบดบังโดยสิ่งรบกวนจากเสียงเรียกที่คล้ายกันของชื่อและสิ่งของ เมื่อไรที่คนเรานึกถึงอย่างอื่น สิ่งรบกวนจะหยุดและข้อมูลจะแสดงขึ้นมาในความทรงจำ คุณสมบัติที่น่าสนใจของตัวชี้นำการนึกถึงก็คือ การนึกถึงสามารถมาจากสภาวะจิตใจของคนเรา

เมื่อคนเราตะโกนใส่ผู้อื่นเพราะพวกเขาทำสิ่งที่น่ารำคาญซ้ำไปซ้ำมา แต่ความรำคาญในอดีตที่หายไปนาน อาจกลับเข้ามาในหัวอย่างรวดเร็ว เพราะการเรียนรู้ที่พึ่งพิงสภาวะ (State-dependent learning) กล่าวคือการนึกถึงข้อมูลที่ง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในสภาวะทางจิตที่เหมือนกัน หรือการตั้งค่าที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเข้ารหัสตั้งต้น เช่นเวลาโมโหใคร ความรู้สึกสร้างสภาวะจิตใจที่กระตุ้นการนึกถึงของเหตุการณ์อันน่ารำคาญในอดีต

หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่พึ่งพิงสภาวะ มาจากการศึกษามากมายที่ผู้เข้าทดลอง (คน, หมา, และหนู) มีการเรียนรู้ในขณะที่ใช้ตัวยาและอยู่ในอารมณ์บางอย่างหรือในสถานที่พิเศษ และต่อมาแสดงให้เห็นถึงการนึกถึงข้อมูลที่ดีขึ้น เมื่อทดสอบภายใต้เงื่อนไขการเรียนรู้จากต้นฉบับ

สภาวะนี้บ่งชี้ว่าตัวชี้นำการนึกถึงถูกสร้างขึ้นเมื่ออยู่ในสภาวะทางอารมณ์หรือจิตใจและสถานที่บางอย่าง และต่อมาเมื่อกลับมาที่มีเงื่อนไขคล้ายเดิมจะทำให้ช่วยเรื่องการนึกถึงข้อมูลที่เคยเรียนรู้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Mar 5].