จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 356: เหตุผลของการลืม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 356: เหตุผลของการลืม (2)

สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการยกตัวอย่างของผู้หญิงคนหนึ่งที่ลืมความทรงจำเกี่ยวกับงานวันเกิดครบรอบ 9 ปีของตนเอง นอกจากนั้นยังมีการเกริ่นว่าคนเรามี 4 เหตุผลที่ทำให้ลืมเหตุการณ์บางอย่าง อันเหตุผลหนึ่งที่ได้นำมาอธิบายคือเกิดจากความทรงจำที่เก็บกด (Repressed memories)

ในสัปดาห์นี้ เราจะแสดงให้เห็นว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงข้างต้นลืมเกี่ยวกับงานครบรอบวันเกิดเธอเอง อาจไม่ใช่เพราะความทรงจำที่อดกลั้นแต่เพราะบางอย่างที่เป็นรูปธรรม (Concrete)

ในบางครั้งผู้หญิงคนดังกล่าวไม่สามารถจำสิ่งที่เกิดขึ้นในวันเกิดครบรอบ 9  ปีของเธอ เพราะช่วงนั้นเธอป่วยหรือได้รับของขวัญวันเกิดเพียงนิดเดียว อันส่งผลให้เธอมี “ตัวชี้นำการนึกถึง” (Retrieval cues) ที่ระดับต่ำมาก ตัวชี้นำการนึกถึงคือการเตือนความจำทางจิตที่สร้างโดยการก่อรูปอันชัดแจ้งของจิตใจ หรือการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลที่คนเรารู้อยู่แล้ว

นักศึกษาหลายคนไม่เคยตระหนักว่า ตัวชี้นำการนึกถึง มีอิทธิพลอย่างสูงเกี่ยวกับการจดจำหรือการลืมของสิ่งใหม่หรือสิ่งที่มีความซับซ้อน อาทิเช่นถ้านักศึกษาใช้การท่องจำเพื่อให้มันอัดแน่นเข้าไปในความทรงจำ พวกเขาจะมี ตัวชี้นำการนึกถึง ในระดับที่ต่ำ โดยสิ่งนี้สามารถทำหน้าที่ได้ดีที่สุด เมื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลที่เคยเรียนรู้

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับผู้หญิงข้างต้นในวันเกิดครบรอบ 9 ปี ก็คือ เธอได้นำอุปกรณ์ใหม่ของเธอมาเล่นสเก็ตน้ำแข็ง (Ice skate) ซึ่งเธอได้แสดงท่าทางขั้นสูง [หวาดเสียว] เพราะอยากโอ้อวด แต่เธอได้หกล้มหัวฟาดพื้นอย่างรุนแรงจนสลบ

ผู้หญิงคนดังกล่าวหมดสติและต่อมาเธอไม่สามารถจำอะไรได้อีก เพราะการหกล้มส่งผลให้เธอความจำเสื่อม (Amnesia) โดยอาการดังกล่าวทำให้สูญเสียความทรงจำ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากมีความเสียหายต่อสมอง (ระยะสั้นหรือถาวร) หลังจากการใช้ยาหรือความเครียดทางจิตใจ อย่างรุนแรง

ตัวอย่างที่คล้ายกับผู้หญิงข้างต้นก็คือ ส่วนใหญ่แล้ว คนที่ศีรษะถูกกระทบกระเทือนขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะไม่เหลือความทรงจำที่เกิดขึ้นก่อนและขณะเกิดอุบัติเหตุ

ถ้าคนเราพยายามนึกถึงวันเกิดในวัยเด็ก พวกเขาจะพบว่าความทรงจำเหล่านี้จะถูกผสมผสานกันจนแยกไม่ออก ซึ่งการผสมผสานนี้ชี้นำให้เกิดการลืมอันเรียกว่า สิ่งรบกวน (Interference)

เหตุผลทั่วไปของการลืมคือสิ่งรบกวน อันหมายความว่าการนึกถึงความทรงจำที่เฉพาะ จะถูกบดบัง (Blocked) หรือขัดขวางด้วยความทรงจำอื่นที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่นของขวัญ, งานสังสรรค์, หรือผู้ที่เคยเข้ามาร่วมงานวันเกิดอาจเป็นสิ่งที่บดบังหรือรบกวนการนึกถึงความทรงจำที่เกิดขึ้นในงานวันเกิดก่อนหน้านี้

ด้วยเหตุผลมากมายของการลืม นักจิตวิทยาสาขาการรับรู้ (Cognitive psychologists) มีความสนใจหลักๆ เกี่ยวกับสิ่งรบกวนและตัวชี้นำการนึกถึง

 

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Feb 5].