จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 355: เหตุผลของการลืม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 355: เหตุผลของการลืม (1)

 

ด้วยเหตุผลบางอย่าง น้องสาวของฉันไม่สามารถจดจำในสิ่งที่ตัวเองพูดตอนวันเกิดครบรอบ 9 ปีได้ แม้ว่าสมาชิกอื่นในครอบครัวของเรายังสามารถจดจำมันได้

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยกล่าวว่ามนุษย์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเป็นเวลานาน แต่ทำไมความทรงจำตอนวันเกิดครบรอบ 9  ปีของเธอถึงได้หายไป ซึ่งเธอบอกว่าเธอลืม (Forgot) แต่ความหมายที่แท้จริงของการลืมคืออะไรกันแน่

การลืมคือการที่ไม่สามารเรียกใช้ (Retrieve), นึกถึง (Recall), หรือจำ (Recognize) ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บหรือยังคงจัดเก็บในความทรงจำระยะยาว

แม้ว่าน้องสาวของฉันพูดว่า เธอลืมวันครบรอบวันเกิดอายุ 9 ปีของเธอ ซึ่งเป็นไปได้ว่าความทรงจำมีการจัดเก็บและยังคงอยู่ในความทรงจำระยะยาว แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง เธอไม่สามารถนึกถึงหรือเรียกใช้มัน อันที่จริง มีคำอธิบายที่ดี 4 ประการว่าทำไมเธอถึงลืมวันครบรอบวันเกิด 9 ปีของเธอได้

บางทีเธอไม่สามารถจดจำเรื่องที่เกิดขึ้นในวันเกิด 9 ปีของเธอได้ เพราะมีความเก็บกด (Repressed) เกี่ยวกับความทรงจำนั้น ตามความคิดของ ซิกส์มัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยา (Neurologist) ชาวออสเตรีย และบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis)

เขากล่าวว่า การเก็บกด คือระบบทางจิตที่ซ่อนความตื่นตะหนกทางอารมณ์ (Emotional threatening) หรือทำให้เกิดความวิตกกังวล (Anxiety-producing) โดยข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึก (Unconscious) โดยทำให้ความทรงจำที่เก็บกดไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นความสมัครใจ (Voluntarily) แต่บางครั้งอาจส่งผลให้พวกมันเข้าไปจิตใต้สำนึกในเวลาต่อมา

มีรายงานจากสถานพยาบาลว่าผู้ป่วยที่เข้ามาบำบัดสามารถฟื้นฟูความทรงจำ ที่เก็บกดจากสภาวะทางอารมณ์ที่อ่อนไหวหรือเหตุการณ์ที่น่าสลด (Traumatic event) เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual abuse) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990s มีการโต้แย้งที่โด่งดังว่า ทำไมรายงานการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่สามารถฟื้นฟูความทรงจำที่เก็บกดเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นความทรงจำที่ไม่จริงที่ถูกแนะนำหรือปลูกฝัง (Implant) โดยนักบำบัด (Therapist)

ยกตัวอย่างเช่น มีผู้หญิง 300 คนมีความทรงจำที่เก็บกดและมีการกล่าวหา (Accusation) การถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก แล้วผู้ป่วยประมาณ 12 คนสามารถฟ้องนักบำบัดได้สำเร็จสำหรับการปลูกฝังหรือนำพาไปสู่ความทรงจำที่บิดเบือน อีกมุมหนึ่งมีรายงานทางการแพทย์ (Clinical report) ว่าผู้ป่วยที่สามารถนึกถึงความทรงจำที่เก็บกดจากเหตุการณ์อันน่าสลดในระหว่างอยู่ภายใต้กระบวนการการบำบัด (Therapeutic process)

ในทางกลับกัน นักวิจัยความทรงจำที่โดดเด่น (Prominent memory) อย่างอลิสเบท์ส ลอฟตัส (Elizabeth Loftus) ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้อง (Validity) ของความทรงจำที่เก็บกด อันชี้นำไปถึงความเป็นไปได้เช่นความทรงจำมนุษย์ถูกชี้นำหรือปลูกฝังขณะการบำบัด

 

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Sigmund Freud - https://en.wikipedia.org/wiki/Sigmund_Freud [2022, Jan 29].
  3. Elizabeth Loftus - https://en.wikipedia.org/wiki/Elizabeth_Loftus [2022, Jan 29]