จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 354: เส้นกราฟการลืม (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 23 มกราคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 354: เส้นกราฟการลืม (2)
เฮอร์แมน เอบบิงฮอร์ส (Hermann Ebbinghaus) ได้สร้างและเขียน 3 ตัวอักษรอันเป็นพยางค์ที่ไม่มีความหมาย (Non-sense syllable) เช่น LUD, ZIB, และ MUC จำนวนนับร้อยๆ ชุด ของบัตร ซึ่งในบัตรแต่ละชุด โดยรับการเรียงรวบรวมในความหนาที่แตกต่างกัน
เขาใช้เครื่องเคาะจังหวะ (Metronome) ช่วยดำเนินการระหว่างเปิดบัตรทีละใบ แล้วอ่านออกเสียงตัวอักษรทุกตัวจนกว่าจะอ่านบัตรทุกใบในชุดจนครบ
เขาใช้เพียงความทรงจำแบบท่องจำ (Rote memory) กล่าวคือ ไม่มีการใช้ความเชื่อมโยง (Association) และต้องการเพียงการอ่าน 1 – 2 ครั้งเพื่อจดจำชุดบัตรละ 7 ใบ โดยที่แต่ละใบบรรจุพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เขาใช้เวลาอ่านประมาณ 45 ครั้งเพื่อจดจำ 24 ชุดบัตร
ในเส้นกราฟการลืมของเขา แสดงให้เห็นว่าในหนึ่งชั่วโมงแรก เฮอร์แมนลืมประมาณครึ่งหนึ่งของพยางค์ที่ไม่มีความหมายซึ่งเขาไม่คุ้นเคยและไม่น่าสนใจ อันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชื่อและใบหน้าของเพื่อนสมัยมัธยมปลาย อันเป็นข้อมูลที่เขามีความคุ้นเคยและน่าสนใจ แม้เวลาจะผ่านพ้นไปหลายปี เขาก็ยังจำหรือระลึกถึงได้บ้าง
ในเส้นกราฟการลืมของเขา (Forgetting curve) แสดงให้เห็นว่า 47 ปีต่อมา ผู้เข้าทดลอง (Subject) จับคู่ระหว่างชื่อและใบหน้าของเพื่อนสมัยมัธยมปลายได้ถูกต้องถึง 80% พวกเขาใช้การนึกถึง (Recall) ประมาณ 25%
ผู้เข้าทดลองทำได้ดีกว่าในในแบบทดสอบความจำ (Recognition test) การจับคู่ระหว่างชื่อและใบหน้า เมื่อพวกเขาได้รับคำบอกใบ้ (Clue) บ้าง
แต่ผู้เข้าทดลองทำได้แย่ลงในแบบทดสอบการนึกถึง (Recall test) ที่ให้ดูเพียงใบหน้าและให้นึกถึงชื่อเอง โดยไม่ได้รับคำบอกใบ้ใดๆ
ในทำนองเดียวกัน เด็กนักเรียนแสดงความทรงจำในแบบทดสอบความจำหรือข้อสอบปรนัย (Multiple choices) ได้ดีกว่าแบบทดสอบที่ต้องใช้การนึกถึงหรือข้อสอบอัตนัย (Essay)
แม้ว่าข้อมูลทั้ง 2 ประเภทนี้ (ชื่อและคำพยางค์ที่ไม่มีความหมาย) ผ่านไป 7 ปีผู้เข้าทดลองมีความสามารถที่ต่างกันมากในการจดจำข้อมูล พวกเขานึกถึงได้ถูกต้องประมาณ 60% ของข้อมูลที่คุ้นเคยและน่าสนใจ (ชื่อและใบหน้า)
ในขณะที่เฮอร์แมนเองลืมประมาณ 80% ของพยางค์ที่ไม่มีความหมายอันเป็นข้อมูลที่เขาไม่คุ้นเคย (Unfamiliar)และไม่น่าสนใจ (Uninteresting) หลังจากเวลาผ่านไปเพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งการศึกษา 2 ประเภทนี้แสดงให้เห็นว่าความทรงจำมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่คุ้นเคยหรือน่าสนใจอย่างไร
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Jan 22].
- Hermann Ebbinghaus - https://en.wikipedia.org/wiki/Hermann_Ebbinghaus [2022, Jan 22].