จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 353: กราฟการลืม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 353: กราฟการลืม (1)

คุณผู้อ่านลองหลับตาสักพักและพยายามนึกถึงภาพความทรงจำในวัยเด็กที่เนิ่นนาน (Earliest) ที่สุด นักวิจัยพบว่าปกติความทรงจำที่เนิ่นนานที่สุด ซึ่งมักเลือนราง (Sketch) เป็นสิ่งที่มีความหมายมากสำหรับมนุษย์ โดบส่วนใหญ่เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลและไม่เคยเกิดขึ้น หากมนุษย์มีอายุไม่ถึง 2 ขวบ

ปัจจุบันนี้นักวิจัยพบว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 13 เดือนสามารถนึกถึงภาพเหตุการณ์ใน 8 เดือนต่อมา เช่น ลำดับการจัดเรียงที่เฉพาะของการขยับของเล่น

อย่างไรก็ตาม ความทรงจำประเภทนี้ มีความเชื่อมโยงกับทักษะการเคลื่อนไหว (Motor movement) โดยที่มนุษย์ไม่สามารถจดจำประเภทนี้ได้หลังอายุ 3 ขวบครึ่ง

มี 2 เหตุผลว่าทำไมจึงเป็นการยากที่มนุษย์จะจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนตัวเองมีอายุได้ 2 ขวบ เหตุผลแรกก็คือ เด็กที่มีอายุน้อยมาก มีทักษะด้านภาษา (Language skill) น้อยหรือไม่มีเลย เด็กไม่สามารถพูด (Verbal) เพื่อเข้ารหัส (Encode) ความทรงจำที่รวดเร็วหรือนึกถึงมัน หลังจากพวกเขาได้มีพัฒนาการทักษะด้านภาษา

เหตุผลที่ 2 ก็คือส่วนสมองกลีบหน้า (Frontal Cortex) ยังไม่มีการพัฒนาเต็มที่ในเด็กที่มีอายุน้อย ถึงแม้ว่าตอนที่มนุษย์ได้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จะสามารถเข้ารหัสได้หลากหลายโดยผ่านคำพูด แต่ทำไมมนุษย์ก็ยังลืมหลายสิ่งหลายอย่าง โดยเฉพาะ เวลาเตรียมสอบ

จากประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมสอบ มนุษย์รับรู้ว่าการพูดเพื่อเข้ารหัสข้อมูลโดยการฟัง, การอ่าน, หรือการเขียนไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถเรียกใช้ (ระลึกถึง) ข้อมูลนี้ได้ในช่วงเวลาสอบ

ในเหตุการณ์เหล่านี้ การจำหรือการลืม สามารถแสดงให้เห็นได้ในเส้นกราฟการลืม (Forgetting curve)  ซึ่งกราฟนี้จะวัด (Measure) จำนวนของข้อมูลที่เรียนรู้ก่อนหน้านี้ว่า ผู้เข้าทดลอง (Subjects) สามารถเรียกใช้ (ระลึกถึง) ข้อมูลผ่านกาลเวลาได้อย่างไร

ในการทดลองนี้ จะมีการตรวจสอบระหว่าง 2 ประเภทของข้อมูลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ประเภทที่ไม่คุ้นเคย (Unfamiliar) และประเภทที่คุ้นเคย (Familiar) โดยสามารถจดจำได้ผ่านเส้นกราฟการลืม

หนึ่งในบุคคลรุ่นแรกๆ ที่ได้ศึกษาความทรงจำและการลืมคือ เฮอร์แมน เอบบิงฮอร์ส (Hermann Ebbinghaus) เขาเป็นนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ที่บุกเบิก (Pioneer) การศึกษาทดลองเรื่องความทรงจำ (Memory) และมีชื่อเสียงโด่งดังจาการค้นพบ (Discovery) เส้นกราฟการลืม และผลกระทบของเทศะ (Spacing effect) แล้วยังเป็นคนแรกที่อธิบายเส้นกราฟการเรียนรู้ (Learning curve)

เฮอร์แมนได้ใช้ตัวเองเป็นผู้เข้าทดลอง โดยมองภาพรวมของปัจจัยที่ว่า ทำไมมนุษย์ถึงมีความทรงจำที่ดีกว่ากับเหตุการณ์ที่คุ้นเคยโดยทำการจดจำเพียง 3 ตัวอักษร อันเป็นพยางค์ที่ไม่มีความหมาย (Non-sensible syllable)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Jan 15].
  3. Hermann Ebbinghaus - https://en.wikipedia.org/wiki/Hermann_Ebbinghaus [2022, Jan 15].