จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 352: การจัดลำดับชั้นเครือข่าย (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 9 มกราคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 352: การจัดลำดับชั้นเครือข่าย (2)
บทสรุปก็คือ จุดกระจายสัญญาน (Node) หรือไฟล์ความทรงจำ (Memory file) ของหมวดหมู่รูปธรรม (Concrete) จะบรรจุข้อมูล เพื่อนำไปตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจง ส่วนจุดกระจายสัญญาน หรือไฟล์ความทรงจำของหมวดหมู่นามธรรม (Abstract) จะบรรจุข้อมูล เพื่อนำไปตอบคำถามทั่วไป
แม้ว่าทฤษฎีเครือข่าย (Network theory) ไม่มีคำตอบว่ามนุษย์เรียบเรียงและจัดเก็บไฟล์อย่างไร แต่นักวิจัยก็ได้พัฒนารูปแบบที่ซับซ้อนของเครือข่ายที่เป็นกลาง (Neutral network) ซึ่งพยายามเลียนแบบการจัดระเบียบและจัดเรียงเกร็ดข้อมูลนับล้านๆ หน่วยในสมองมนุษย์
แนวความคิดทฤษฎีเครือข่ายกล่าวว่า ข้อมูลจัดเรียงภายในจุดกระจายสัญญานแบบรูปธรรมอยู่ในบางส่วนของหมวดหมู่ที่สนับสนุนเกื้อกูลกัน โดยการศึกษาวิจัยล่าสุด ได้แสดงให้เห็นว่าสมองอาจจะมีระบบจัดเรียงที่ติดตั้งอยู่ภายใน (Built-in) ด้วยตัวของมันเอง
ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยค้นพบว่า ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของสมองส่วนไหนถูกทำลาย ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการบ่งชี้ (Identify) หรือประมวล (Process) ข้อมูลที่อยู่ในหมวดหมู่เฉพาะ
ในบางกรณีผู้ป่วยไม่สามารถบ่งชี้ใบหน้าได้อีก แต่ไม่พบปัญหาในการบ่งชี้ข้อมูลในหมวดหมู่อื่น เช่นในเครื่องมือและข้อมูลอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง (สัตว์, ของใช้ภายในบ้าน, หรือพืช)
ในกรณีอื่นผู้ป่วยไม่สามารถบ่งชี้เกี่ยวกับพืชได้อีก แต่สามารถบ่งชี้เกี่ยวกับข้อมูลที่อยู่ในหมวดหมู่อื่นได้ (เครื่องมือ, สัตว์, และอีกหลายอย่าง) การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าหมวดหมู่ต่างๆ มีการติดตั้งอยู่ภายในสมองสำหรับค้นหาและจัดเรียงข้อมูลที่ต่างประเภทกัน
ในการนำงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพของกิจกรรมอันเป็นกลาง (Neutral activity) ในสมองมนุษย์ นักวิจัยพบหลักฐานว่าสมองมี 2 ส่วนสำหรับหมวดหมู่ต่างๆ เมื่อมีการขอผู้เข้าทดลอง (Subjects) นึกถึงสิ่งของที่อยู่ในหมวดหมู่เฉพาะ เช่น ใบหน้า, เครื่องมือ, หรือของใช้ภายในบ้าน
นักวิจัยพบว่ากิจกรรมอันเป็นกลางที่เกิดขึ้นมากที่สุด (Maximum) ในพื้นที่สมองที่ต่างกัน นักวิจัยเชื่อว่าพื้นที่ในสมองที่แสดงกิจกรรมอันเป็นกลางได้มากที่สุดคือ พื้นที่ที่ใช้ความคิดมากที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น ส่วนสร้างกิจกรรมอันเป็นกลางได้มากที่สุดเมื่อนึกถึงสัตว์ คือส่วนด้านหลังของสมอง และส่วนสร้างกิจกรรมอันเป็นกลางได้มากที่สุดในขณะที่คิดถึงเรื่องเครื่องมือ คือสมองส่วนหน้า
การค้นพบประเภทนี้นำพาให้นักวิจัยเชื่อว่า สมองมาพร้อมกับสายใย (Pre-wired) ของหมวดหมู่สำหรับการจัดการกับข้อมูล การค้นพบนี้อธิบายว่ามนุษย์สามารถแยกแยะ (Sort through) ข้อมูลจากพื้นที่จัดเก็บที่มหึมา (Tremendous) ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพื่อหาคำตอบเฉพาะได้อย่างไร เช่น “อูฐมีโหนก (Hump) หรือไม่?”
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Jan 8].
- Network theory - https://en.wikipedia.org/wiki/Network_theory#:~:text=Network%20theory%20is%20the%20study,have%20attributes%20(e.g.%20names). [2022, Jan 8].