จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 351: การจัดลำดับชั้นเครือข่าย (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 2 มกราคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 351: การจัดลำดับชั้นเครือข่าย (1)
ทฤษฎีเครือข่าย (Network theory) เป็นการศึกษากราฟ (Graph) ที่เป็นตัวแทน (Representation) ของความสัมพันธ์กัน ที่อาจจะสมมาตร (Symmetric) หรือไม่สมมาตร (Asymmetric) ระหว่างสิ่งของ (Object) ซึ่งรวมทั้งสัตว์และพืชด้วย โดยที่ในกราฟ จะมีจุดกระจายสัญญาน (Node)
มีผู้นำทฤษฎีเครือข่ายไปประยุกต์ใช้กับหลากหลายสาขาวิชา (Discipline) เช่นฟิสิกส์เชิงสถิติ (Statistical physics), วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science), วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical engineering), ชีววิทยา (Biology), เศรษฐศาสตร์ (Economics), การเงิน (Finance), และประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuro-science)
นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ในเครือข่ายภูมิอากาศวิทยา (Climatology), นิเวศวิทยา (Ecology), สาธารณสุข (Public health), สังคมวิทยา (Sociology), ตลอดจนรวมถึงเครือข่ายขนส่ง (Logistics), อินเทอร์เน็ต (Internet), การควบคุมยีน (Gene regulation), การสันดาปอาหาร (Metabolism), และญาณวิทยา (Epistemology)
ในทางจิตวิทยา (Psychology) จุดกระจายสัญญาณดังกล่าวเป็นไฟล์ความทรงจำ (Memory file) ที่มนุษย์สามารถใช้ค้นหาความทรงจำเฉพาะ (Specific memory) เพื่อตอบคำถามเจาะจง เช่น ปลาน้ำจืดเล็ก (Guppy) มีขนาดใหญ่ไหม? ไก่ตัวผู้ (Rooster) มีขนไหม? นกบลูเจย์ (Blue Jay) มีหนังไหม?
จากทฤษฎีเครือข่าย เราเรียนรู้ว่า จุดกระจายสัญญานหรือไฟล์ความทรงจำในสมองคนเรา มีจำนวนนับพันนับหมื่นจุด โดยมีการจัดเรียงเป็นลำดับที่เฉพาะ เรียกว่าลำดับชั้นเครือข่าย (Network hierarchy) ครอบคลุมนานาหัวข้อและหมวดหมู่ (Category)
ลำดับชั้นเครือข่าย มีรูปแบบเฉพาะ ซึ่งส่วนล่างเป็นจุดกระจายสัญญานที่มีข้อมูลรูปธรรม (Concrete) อันเชื่อมโยงกับจุดกระจายสัญญานด้วยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง แต่ส่วนบนเป็นจุดกระจายสัญญานที่มีข้อมูลนามธรรม (Abstract) อันเชื่อมโยงกับจุดกระจายสัญญานด้วยข้อมูลทั่วไป
ยกตัวอย่างเช่น บางส่วนในลำดับชั้นของเครือข่ายใช้เป็นจุดกระจายสัญญานหรือเป็นไฟล์ความทรงจำเพื่อบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์กำลังแสงหาความทรงจำแบบรูปธรรม (เฉพาะ) หรือความทรงจำแบบนามธรรม (ทั่วไป)
จุดกระจายสัญญานหรือไฟล์ความทรงจำที่เป็นนามธรรม นั้น บรรจุข้อมูลที่จับต้องไม่ได้ แต่สามารถนำไปใช้งานเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ได้ ยกตัวอย่างเช่น สัตว์มีผิวหนัง (Skin) สามารถเดินไปรอบๆ, สามารถกิน, และสามารถหายใจได้ ในหมวดหมู่นี้มีคำตอบสำหรับคำถามทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์ เช่น นกบลูเจย์มีผิวหนังหรือไม่?
จุดกระจายสัญญานหรือไฟล์ความทรงจำที่เป็นรูปธรรม (จับต้องได้) จะบรรจุข้อมูลที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงดังตัวอย่างหมวดหมู่นก เช่น นกเป็นสัตว์ที่มีปีก, บินได้, และมีขน (Feather) ซึ่งในหมวดหมู่นี้มีคำตอบที่ค่อนข้างเฉพาะเกี่ยวกับนก เช่น ไก่ตัวผู้มีขนไหม? ในตัวอย่างหมวดหมู่ปลา อาจมีคำถามว่า ปลาฉลามมีสีอะไร?
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2022, Jan 1].
- Network theory - https://en.wikipedia.org/wiki/Network_theory#:~:text=Network%20theory%20is%20the%20study,have%20attributes%20(e.g.%20names). [2022, Jan 1].