จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 350: การเติมและจัดการความทรงจำ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 26 ธันวาคม 2564
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 350: การเติมและจัดการความทรงจำ (2)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราพูดถึงบางส่วนของทฤษฎีเครือข่าย (Network Theory) ของการจัดการความทรงจำ ในสัปดาห์นี้เราจะมาคุยต่อเกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าว ตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนก่อนหน้านี้ว่าแผนที่การรู้คิด (Cognitive map) คล้ายกับแผนที่เมืองที่เชื่อมโยงไปด้วยถนนหลากหลายสาย
เนื่องจากโดนอลด์ นอร์แมน (Donald Norman) (ซึ่งเป็นนักวิจัยชาวอเมริกัน และเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง) ได้ติดตามความเชื่อมโยงหรือสายถนนจิต (Mental road) โดยเขาเดินทางผ่านเครือข่ายความรู้คิดจาก “จุดกระจายสัญญาน” (Nodes) หนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง หรือจากความทรงจำ (Memory) หนึ่งไปยังอีกความทรงจำหนึ่งที่สามารถหาชื่อเฉพาะ ตัวอย่างตามด้านล่างนี้ โดยเริ่มจาก . . .
- ขบวนรถไฟความคิดของนอร์แมนเริ่มขึ้น เมื่อเขาจำงานสังสรรค์ ที่เขาเข้าร่วมก่อนหน้านี้ที่บ้านเพื่อน
- บ้านมีความเชื่อมโยงกับตัวตรวจจับควันตรงเพดานห้อง
- เครื่องตรวจจับควันมีความเชื่อมโยงกับแบตเตอรี่อันเป็นตัวจ่ายพลังงาน
- แบตเตอรี่มีความเชื่อมโยงกับบางร้านค้าในแซนดิอาโก้ (San Diego) ที่นอร์แมนเคยซื้อสินค้าร้านนี้
- ร้านค้ามีความเชื่อมโยงกับสินค้าต่างๆ ที่เขาเคยซื้อรวมถึงกระบะที่เขาซื้อใส่สไลด์
- ในขณะที่เขาจำได้ว่าเขาเคยซื้อกระบะใส่สไลด์ สามารถระลึกถึงชื่อร้านค้า “นอร์ดสตรอม (Nordstrom)” ได้
หลังจากที่ได้เห็นตัวอย่างด้านบนของนอร์แมนทำให้พวกเราเห็นว่า มนุษย์รู้คิดแต่มีความยากที่เราจะระลึกถึงความรู้นั้น ปัญหานี้มีความเชื่อมโยงว่า มนุษย์จัดเก็บข้อมูลในความจำระยะยาว (Long-term memory) อย่างไร
แม้ว่าทฤษฎีเครือข่ายมีความซับซ้อน แต่เราจะมาดูกันว่ามันใช้งานอย่างไรโดยอิงจากตัวอย่างของนอร์แมน ซึ่งเขาจัดระบบหรือจัดเก็บความคิดที่มีความเกี่ยวโยงกันในไฟล์หรือประเภทที่ต่างกันเรียกว่า “จุดกระจายสัญญาน”
เพื่อให้กระบวนการนี้ดูง่ายในตัวอย่างของนอร์แมน เขาได้ใช้จุดกระจายสัญญาน 6 จุด อันความเป็นจริงอาจมีมากกว่านี้ จุดกระจายสัญญานจัดประเภทสำหรับการจัดเก็บความคิดเช่น นก, ใบหน้า, เพื่อน, และชื่อร้านค้า
ต่อมานอร์แมนได้เชื่อมต่อจุดกระจายสัญญานหรือประเภทของความคิดเข้าด้วยกัน โดยสร้างความเชื่อมโยงหรือถนนจิตระหว่างข้อมูลใหม่และข้อมูลเก่าที่เพิ่งได้มีการจัดเก็บก่อนหน้านี้
นอร์แมนมีความเชื่อมต่อภายในจุดกระจายสัญญานนับพันจุด อันก่อรูปเป็นเครือข่ายความรู้คิดจำนวนมหาศาลสำหรับการจัดเรียงและการจัดเก็บไฟล์
เขาต้องค้นหาผ่านเครือข่ายการรู้คิดของเขาเพื่อหาจุดกระจายสัญญานหรือไฟล์เฉพาะ อันเป็นพื้นที่ที่ความทรงจำเฉพาะถูกจัดเก็บ ต่อมานักวิจัยได้มีการพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวเพื่อให้มนุษย์สามารถค้นหาผ่านจุดกระจายสัญญานนับพันๆ จุดเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2021, Dec 25].
- Donald Normal - https://en.wikipedia.org/wiki/Don_Norman [2021, Dec 25].