จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 349: การเติมและจัดการความทรงจำ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 349: การเติมและจัดการความทรงจำ (1)

ตัวต่อที่สำคัญที่สุดของความทรงจำคือ การที่มนุษย์สามารถจัดเรียงและเก็บข้อมูลจำนวนนับไม่ถ้วนที่เข้ามาตลอดช่วงชีวิตได้อย่างไร?

ยกตัวอย่าง เมื่อเดือนที่ผ่านมา มนุษย์คนหนึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลของคน 91 ใบหน้า, หลักการ (Concept) 6,340 ข้อ, เพลง 258 บท, ชื่อ 192 คน, ความหมาย 97 อย่าง, เหตุการ์ส่วนตัว 80,987 ครั้ง, หมา 1 ตัว, และแมว 1 ตัว

มนุษย์สามารถจัดเก็บความทรงจำ 87,967 อย่าง ได้อย่างไรเพื่อที่จะค้นหาและเรียกใช้ข้อมูล 1 ชิ้น ที่เฉพาะเจาะจงจากความทรงจำระยะยาว (Long term memory)?

มีหลายทฤษฎีกล่าวว่ามนุษย์ สามารถจัดเรียงและจัดระบบความทรงจำได้อย่างไร ในสัปดาห์นี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับทฤษฎีที่มีชื่อเสียงที่เรียกว่า “ทฤษฎีเครือข่าย” (Network ) หรือการเชื่อมต่อ

ทฤษฎีเครือข่าย กล่าวว่ามนุษย์สามารถจัดเก็บความคิด (Idea) ที่มีความเชื่อมโยงกันเข้าในประเภทที่แตกต่างหรือพื้นที่จัดเก็บซึ่งเรียกว่า “จุดเครือข่าย” (Nodes)

เมื่อมนุษย์สร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล พวกเขาได้สร้างการเชื่อมต่อระว่าง 1,000 จุดเครือข่าย อันทำให้เกิดการเชื่อมต่อภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ของพื้นที่สำหรับเรียกใช้และจัดเก็บข้อมูล

ทฤษฎีเครือข่ายแสดงได้อย่างชัดเจน ถ้ามนุษย์จินตนาการว่าพื้นที่จัดเก็บทางจิต หรือจุดเครือข่ายเปรียบเสมือนเมืองจำนวนนับ 1,000 แห่ง บนแผนที่และส่วนเชื่อมต่อหรือเชื่อมโยงเป็นเหมือนถนน

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมนุษย์ไปตามถนนต่างๆ เพื่อเดินทางเชื่อมต่อระหว่างเมือง เปรียบเสมือนคนที่เดินทางตามความเชื่อมโยงต่างๆ เพื่อเป็นทางผ่านระหว่างข้อมูลหนึ่งไปยังข้อมูลอื่น

การจัดเก็บเหตุการณ์, ใบหน้า, และสิ่งใหม่นับ 1,000 อย่าง คล้ายกับการสร้างตึกในเมืองรวมถึงการสร้างตึกขึ้นมาบนเส้นถนนต่างๆ ระหว่างเมือง

เพราะเหตุนี้นักจิตวิทยาด้านความรู้คิด (Cognitive psychology) นามว่า โดนอลด์ นอร์แมน (Donald Norman) จึงใช้ทฤษฎีเครือข่ายเพื่ออธิบายว่าเขาสามารถเรียกใช้ข้อมูลเฉพาะทางได้อย่างไร?

เช่นเดียวกับเวลามนุษย์ไปตามเส้นทางถนนบนแผนที่เพื่อไปให้ถึงเมืองใดเมืองหนึ่งโดยเฉพาะ นอร์แมนติดตามความรู้บนแผนที่การรู้คิด เพื่อจดจำชื่อของร้านค้าในนคร แซน ดิเอโก้ (San Diego)

แม้ว่าบนเส้นถนนของระบบจิตใจของนอร์แมนจะดูประหลาด ถนนเหล่านี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงเฉพาะ ที่เขาสร้างขึ้น เมื่อเขาจัดเรียงหรือจัดเก็บข้อมูลในความทรงจำระยะยาว (Long term memory) ซึ่งเราจะมาอธิบายเพิ่มเติมในสัปดาห์ต่อไป

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2021, Dec 18].
  3. Donald Normal - https://en.wikipedia.org/wiki/Don_Norman [2021, Dec 18].