จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 348: การระลึกถึงกับการรู้จำ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 348: การระลึกถึงกับการรู้จำ (2)

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงฉากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในขณะที่นักศึกษาคนหนึ่งถูกจู่โจมโดยคนร้ายขณะที่เขากำลังเข้าไปส่งรายงานวิชาจิตวิทยา ณ ห้องของอาจารย์ในเวลากลางคืน นอกจากนี้ได้มีแบบทดสอบ 6 ข้อเพื่อให้ผู้อ่านได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น

คนเราจะเห็นได้ว่า การตอบคำถามข้อ 1 - 3 นั้นยากกว่าเพราะเกี่ยวข้องกับการเรียกข้อมูลมาใช้อีกหรือการระลึกถึง (Recall) ซึ่งคือการเรียกใช้ข้อมูลที่เคยเรียนรู้มาก่อนหน้านี้ โดยที่ไม่ต้องมีความช่วยเหลือ หรือใช้ข้อมูลภายนอกเพียงเล็กน้อย

ยกตัวอย่างเช่นในข้อ 1 – 3 คำถามต้องการให้ระลึกถึงสี หรือสิ่งของโดยที่ไม่มีตัวเลือกอื่น ซึ่งคนที่ตอบคำถามต้องใช้การระลึกถึงเพื่อเติมคำลงในช่องว่างหรือเขียนเป็นเนื้อหาเพื่อตอบ

ส่วน ข้อ 4 – 6 มีความง่ายกว่าในการตอบคำถามเพราะเป็นการใช้ “การรู้จำ (Recognition)” ซึ่งคือการบ่งชี้ข้อมูลที่เคยเรียนรู้โดยมีการใช้ความช่วยเหลือจากสิ่งภายนอก

ในข้อที่ 4 – 6 ผู้ตอบเพียงแค่ใช้การระลึกถึงว่าข้อมูลที่เตรียมให้ในคำถามนั้นอย่างถูกต้อง อันต้องใช้การระลึกถึงเพื่อตัดสินใจว่าตัวเลือกในคำถามที่เตรียมให้ว่า อันไหนคือข้อที่ถูกต้องในคำถามแบบปรนัย (Multiple choice)

เนื่องจากข้อสอบแบบปรนัยเกี่ยวข้องกับการรู้จำ จึงเป็นปกติที่ใช้การพิจารณาได้ง่ายกว่าข้อสอบแบบอัตนัย (Fill-in-the-blank) และแบบเนื้อหาที่ต้องมีการระลึกถึงเข้ามาเกี่ยวโยง

คำถามข้อที่ 6 ถามเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ค่อนข้างประหลาดใจ หน้าของคนร้ายแสดงให้เห็นในฉากเพียงไม่กี่วินาที ดังนั้น 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชมชี้ตัวผู้ร้ายที่แฝงตัวในแถวผิดคน

ทำไมผู้ชมที่เห็นหน้าผู้ร้ายในฉากแบบชัดเจน แต่ไม่สามารถชี้ตัวผู้ร้ายที่แฝงอยู่ในแถวผู้ต้องหาอีก 5 คนได้? คำตอบก็คือความจำผ่านการมองสามารถถูกกระทบจากคำแนะนำ, คำถามที่ชี้นำไปผิดทาง, และข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

แม้ว่าโดยปกติ คำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ เป็นประเภทของหลักฐานที่ให้ความแม่นยำมากที่สุด แต่เหตุกาณณ์นี้ แสดงให้เห็นว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป

ในสัปดาห์ต่อไป เราจะอธิบายเกี่ยวกับความแม่นยำและปัญหาของคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์ โดยจะแสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีการจัดการกว่า 1,000 เหตุการณ์, ใบหน้า, และข้อเท็จจริงแล้วจัดเรียงข้อมูลพวกนี้ในความทรงจำระยะยาว (Long term memory) ได้อย่างไร?

เราจะอธิบายเหตุผลหลักของการลืม, พื้นฐานทางชีวะภาพของความทรงจำ, และความแม่นยำของคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์

 

แหล่งข้อมูล

 

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Organization of memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Organizational_memory [2021, Dec 11].