จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 344: ความทรงจำเหมือนแสงแลบ (2)

 

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 344: ความทรงจำเหมือนแสงแลบ (2)

สัปดาห์ที่ผ่านมา เราทราบเรื่องของนักศึกษาคนหนึ่ง ที่อยู่ในเหตุการณ์อุบัติเหตุทางรถยนต์ และได้ยกตัวอย่างของสาเหตุที่ทำให้เกิดความทรงจำเสมือนแสงแลบ (Flashbulb memory) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความทรงจำประเภทพิเศษ ที่มีความสมบูรณ์, แม่นยำ, ชัดเจน, และมีการต่อต้านที่จะลืมมัน

ตั้งแต่นั้นมามีการศึกษามากมายที่ตรวจสอบสิ่งที่กล่าวนี้ และรายงานว่าความทรงจำเสมือนแสงแลบ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่แยกออกเป็นความทรงจำประเภทพิเศษ เพราะความทรงจำเสมือนแสงแลบ มีความคลาดเคลื่อน, มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อนำมาเล่าใหม่, และยังสามารถลืมได้เมื่อเวลาผ่านไป

ในการศึกษาที่รวบรวมจากนานาประเทศเกี่ยวกับความทรงจำเสมือนแสงแลบ มีการถามชาวอังกฤษ และคนชาติอื่น ว่าพวกเขาทำอะไรกันอยู่ในขณะที่รู้ข่าวว่านายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออก (Resign)

1 ปีต่อมาได้มีการสำรวจ ประชากรที่อาศัยในประเทศอังกฤษจำนวน 215 ราย 86% แล้วพบว่าความทรงจำเสมือนแสงแลบ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และมีประจักษ์หลักฐานว่า มันมีความชัดเจน, ความแม่นยำ (Accurate), และเต็มไปด้วยรายละเอียด

ในเชิงเปรียบเทียบ มีน้อยกว่า 29% ในจำนวน 154 คนของชาวต่างชาติที่มาจากอเมริกาเหนือและเดนมาร์ค ที่รายงานว่ามีความทรงจำสเมือนแสงแลบเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้

นักวิจัยสรุปว่า ความทรงจำสเมือนแสงแลบเป็นตัวแทนของการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ (Automatic encoding) แบบพิเศษที่เกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์มีความเกี่ยวข้องทางอารมณ์และมีความสนใจส่วนบุคคล

ก่อนหน้านี้ ในสิ่งที่นักวิจัยให้ความสนใจ มีการอธิบายว่า อารมณ์สามารถกระตุ้นฮอร์โมน (Hormones) ในการเข้ารหัสเข้าสู่ความทรงจำระยะยาว เช่นเดียวกันกับการสลักหิน การมีอยู่ของฮอร์โมนพวกนี้สามารถช่วยอธิบายว่า ทำไมความรู้สึกที่รุนแรงเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคล สามารถเข้ารหัสได้ง่ายและอัตโนมัติ ซึ่งมันทำให้เห็นภาพที่ชัดเจน, มีรายละเอียด, และเป็นความทรงจำที่ติดตัวเราได้นาน

มนุษย์แต่ละคนมีระบบความทรงจำที่โดดเด่นซึ่งสามารถเข้ารหัส, จัดเก็บ, และนำมาใช้ได้ใหม่เป็นจำนวนที่ไม่จำกัดของข้อมูลในระยะเวลาที่ยาวนาน สิ่งที่สำคัญคือความทรงจำไม่ใช่รูปภาพที่สมบูรณ์ของสิ่งของ, คน, และเหตุการณ์ แต่ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับความประทับใจส่วนบุคคลมากกว่า

ยกตัวอย่างเช่น สิ่งที่มนุษย์จดจำเมื่อเขากำลังอารมณ์ดี และเป็นวันที่ดี มีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่มนุษย์จดจำในขณะที่อารมณ์เสียหรือมีวันที่แย่

จุดนี้หมายความว่า สิ่งที่มนุษย์จดจำและระลึกถึงอาจเปลี่ยนแปลงได้, มีความบิดเบือน, หรือบิดเบี้ยวโดยช่วงกว้างของความรู้สึก, ประสบการณ์ส่วนบุคคล, สถานการณ์ความเครียด, และอิทธิพลทางสังคม

 

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Flashbulb memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Flashbulb_memory, [2021 November 13]