จะรีบไปถึงไหน (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

 

แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะดูเหมือนทำให้เกิดการออกดอกออกผล (productive) แต่จริงๆ แล้วกลับมีผลต่อหลายส่วนในชีวิตอย่าง

  • ผลทางด้านอารมณ์
    • ทำให้มีความเครียดสะสม
    • ขาดสมาธิเพราะมัวแต่กังวลถึงสิ่งที่จะต้องทำต่อไป
    • หงุดหงิด โกรธ โมโห ผู้อื่นที่ช้าไม่เร็วดั่งใจ
  • ผลทางด้านร่างกาย
    • การอยู่ในสภาวะที่เร่งรีบบ่อยๆ ทำให้มีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง เช่น ลืมกินน้ำ ขาดการกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วน (balanced meals)
    • การมีความเครียดที่ต่อเนื่องสามารถทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอ
    • นอนไม่หลับ
    • ความดันโลหิตสูง
  • ผลต่อความสัมพันธ์
    • ไม่ฟังเสียงผู้อื่นเพราะมัวแต่สนใจสิ่งที่ตัวเองต้องทำ
    • ขาดความอดทนกับคนที่ช้ากว่า หรือทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นได้ในที่สุด

คำแนะนำในการจัดการกับโรคทนรอไม่ได้

  • ใช้ชีวิตให้ช้าลง (slow life)
  • พิจารณาว่าอะไรที่ต้องรีบและอะไรที่สามารถรอได้ จัดลำดับก่อนหลัง เพราะถ้าทุกอย่างเร่งรีบหมด จะมีแต่ความเครียดที่เกิดขึ้น
  • เรียนรู้ข้อจำกัดของตัวเอง
  • หาเวลาหยุดพักผ่อนและผ่อนคลาย
  • มีสติอยู่กับปัจจุบัน
  • ฝึกมีความอดทนที่จะรอ
  • ปรึกษาแพทย์

            แหล่งข้อมูล

  1. Hurry Sickness Is a Thing — Here’s Why You Might Want to Slow Down. https://www.healthline.com/health/mental-health/hurry-sickness [2021, November 11].
  2. 6 Signs You're Dealing With 'Hurry Sickness' (And What To Do About It). https://www.huffpost.com/entry/signs-of-hurry-sickness-how-to-deal_l_6081d78de4b0dff254039874 [2021, November 11].
  3. How to Beat Hurry Sickness. https://www.mindtools.com/pages/article/how-to-beat-hurry-sickness.htm [2021, November 11].