คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ระยะเวลานอนหลับและโรคมะเร็ง

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ระยะเวลานอนหลับและโรคมะเร็ง

มีหลายการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ระยะเวลาในการนอนหลับ(กลางคืน)มีผลต่อโรคมะเร็งทั้งอัตราเกิดโรคและอัตราตาย  คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวอัฟริกันที่ทำงานในญี่ปุ่นที่ Division of Cohort Research, National Cancer Center Institute for Cancer Control, สถาบันมะเร็งแห่งชาติที่โตเกียว ร่วมกับคณะนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นทำงานสถาบันเดียวกัน  นำโดย Calistus Wilunda จึงต้องการศึกษาคนญี่ปุ่นว่า ระยะเวลาการนอนหลับในแต่ละคืนมีความสัมพันธ์กับ อัตราเกิดและอัตราตายในโรคมะเร็งหรือไม่ และได้รายงานผลการศึกษาทางอินเทอร์เนท ในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็งระหว่างประเทศ, International Journal of Cancer (IJC) เมื่อ 26 พฤษภาคม 2022   

เป็นการศึกษาในคนญี่ปุ่นจากแหล่งข้อมูลของประเทศญี่ปุ่น6แหล่ง (Six population-based cohorts) รวมประชากรศึกษาทั้งหมด 271,694 ราย, ผลการศึกษาพบ

  • เกิดมะเร็ง = 40,751ราย, และตายจากมะเร็ง = 18,323 ราย
  • ผู้ที่นอนมากกว่าหรือเท่ากับ (>/=) 10 ชั่วโมง/คืน เปรียบเทียบกับ ผู้ที่นอน 7 ชั่วโมง หรือ 5 ชั่วโมง /คืน
    • อัตราเกิดโรคมะเร็ง :
      • ในเพศหญิง มีอัตราเกิดมะเร็งสูงกว่า (ปัจจัยเสี่ยง/HR 1.19 เท่า)
      • แต่ในเพศชาย ระยะเวลานอนฯไม่มีผลเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็ง
    • อัตราตายจากโรคมะเร็ง : เพิ่มขึ้นทั้งในเพศชายและในเพศหญิง โดยปัจจัยเสี่ยง/HR = 1.18, และ 1.44, ตามลำดับ
  • ผู้ที่นอนน้อยกว่าหรือเท่ากับ (</=) 5 ชั่วโมง/คืนเปรียบเทียบกับนอนฯ 7 ชั่วโมง/คืนเช่นกัน พบไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดและการตายจากโรคมะเร็งในทั้ง2เพศ
  • แต่ในกลุ่มเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน: ระยะเวลานอนทั้งในกลุ่มน้อยกว่าหรือเท่ากับ (</=) 5 ชั่วโมง/คืน และในกลุ่มที่ผู้ที่นอนมากกว่าหรือเท่ากับ (>/=) 10 ชั่วโมง/คืน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่นอน7ชั่วโมง/คืนจะเป็นปัจจัยเสี่ยงตายจากโรคมะเร็ง

คณะผู้ศึกษาได้สรุปผลจากการศึกษาครั้งนี้ว่า: การนอนหลับช่วงกลางคืนมากกว่า/= 10 ชั่วโมง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อทั้งการเกิดและการตายเหตุจากมะเร็งในเพศหญิง,  แต่ในเพศชายฯ เป็นปัจจัยเสี่ยงเฉพาะต่อการตายเหตุจากโรคมะเร็ง

บรรณานุกรม

  1. IJC . https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1002/ijc.34133  [2023,Feb20]