คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิด Metachronous colorectal cancer

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิด  Metachronous colorectal cancer

ในมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งไส้ตรง (Colorectal cancer/CRC) ที่วินิจฉัยได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อที่ตำแหน่งก้อนมะเร็งผ่านการส่องกล้องตรวจ ซึ่งผู้ป่วยหลายรายจะมีการตัดชิ้นเนื้อในบริเวณอื่นของลำไส้ไปด้วยเมื่อแพทย์พบสื่งผิดปกติต่างๆ (เช่น ลักษณะการอักเสบของลำไส้) เพื่อวินิจฉัยโรคอื่นๆที่ก่อการอักเสบของลำไส้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง แพทย์หลายท่านจึงสงสัยว่า การตัดชิ้นเนื้อในตำแหน่งอื่นร่วมด้วยในขณะเดียวกันจะเป็นสาเหตุให้เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (จากการตัดชิ้นเนื้อก้อนมะเร็ง)สามารถหล่น/seedingจนเจริญเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่รอยตัดชิ้นเนื้อตำแหน่งอื่นนั้นๆหรือไม่ (ที่ไม่ใช่ก้อนมะเร็ง) ที่เรียกว่า Metachronous colorectal cancer

คณะแพทย์จาก Kaiser Permanente San Francisco สหรัฐอเมริกา นำโดย พญ. Angela Y. Lam จาก Department of Gastroenterology จึงต้องการศึกษาความเป็นไปได้ในเรื่องดังกล่าว โดยเป็นการศึกษาในโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ใน San Francisco ในรูปแบบ Retrospective case-control study ในผู้ป่วยมะเร็งCRC ที่รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อรักษาหายขาด ช่วงมกราคม 2006-มิถุนายน 2018 ซึ่งการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่น่าเกิดจากการตัดชิ้นเนื้อครั้งแรกแล้วเกิด Metachronous CRC คือ ผู้ที่พบเกิดเป็นมะเร็ง CRC ในลำไส้ส่วนที่ถูกตัดชิ้นเนื้อจากโรคไม่ใช่มะเร็งที่ต่อมาพบเกิดมะเร็งCRCในระยะเวลา 6 เดือน - 4 ปีนับจากเป็นมะเร็ง CRC ครั้งแรก, และนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยมะเร็ง CRCในช่วงเวลาเดียวกันที่ไม่เกิด Metachronous CRC, โดยเลือกผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่มี อายุ เพศ เชื้อชาติ และเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่ใกล้เคียงกันทางสถิติ และได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์ Clinical Gastroenterology and Hepatology ทางอินเทอร์เนทเมื่อ 26 พฤษภาคม 2022

โดยศึกษาผู้ป่วยมะเร็ง CRC ในช่วงเวลาดังกล่าว 14,119 ราย, พบเกิดเป็นมะเร็ง CRC ครั้งที่ 2 ที่เข้าข่ายว่าเป็น Metachronous CRC =45 ราย และเป็นผู้ป่วยกลุ่มควบคุม = 212 ราย, ผลพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์อย่างสำคัญทางสถิติระหว่างการเกิด Metachronous  CRC ในลำไส้ส่วนเกิดมะเร็งเดิม กับการตัดชิ้นเนื้อตรวจลำไส้ส่วนนั้นเพื่อวินิจฉัยโรคไม่ใช่มะเร็งร่วมด้วยขณะตรวจมะเร็ง CRC ครั้งแรก (odds ratio 2.29, 95% CI 0.77-6.81)        

คณะผู้ศึกษา สรุปว่า การเกิดมะเร็ง CRC ครั้งที่ 2 ที่เรียกว่า Metachronous CRC ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดชิ้นเนื้อตรวจโรคชนิดอื่นๆร่วมด้วยในการส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อที่ก้อนมะเร็ง CRC ครั้งแรก,  การศึกษานี้จึง ไม่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า อาจมีการปนเปื้อนเซลล์มะเร็ง/Seedingจากการตัดชิ้นเนื้อซ้ำในเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่มะเร็งจนเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิด Metachronous CRC

บรรณานุกรม

Angela Y. Lam , et al.  Clinical Gastroenterology and Hepatology. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1542356522005092 (abstract). [2023,Jan16]