คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อาการข้างเคียงทางสูตินรีเวชจากยาฮอร์โมนในการรักษามะเร็งเต้านมในสตรี

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อาการข้างเคียงทางสูตินรีเวชจากยาฮอร์โมนในการรักษามะเร็งเต้านมในสตรี

ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมสตรีชนิดเซลล์มะเร็งจับฮอร์โมนได้(Hormone receptor+ve/positive) คือการได้รับยาฮอร์โมน (ยาต้านฮอร์โมนเพศหญิง) ชนิดเม็ดรับประทานต่อเนื่องหลัง การผ่าตัด ยาเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา

คณะนักวิทยาศาสตร์จากประเทศแคนาดา นำโดย Alexandra Moskalewicz จากโรงพยาบาล St. Michael’s Hospital, Toronto, แคนาดา จึงต้องการศึกษาว่า ตัวยาต้านฮอร์โมนเหล่านี้ก่อผลข้างเคียงทางด้านสูตินรีเวชต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง ได้แก่ อาการทางช่องคลอด(เช่น คันช่องคลอด, ตกขาว, ช่องคลอดแห้ง, เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, เจ็บเมื่อร่วมเพศ), อาการทางเพศ (เช่น ความรู้สึกและความต้องการทางเพศลดลง, การมีเพศสัมพันธ์ลดลง), อาการด้าน Vasomotor/การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (เช่น ร้อนวูบวาบ), และด้านอารมณ์อื่นๆ (เช่น ความรู้สึกซึมเศร้า)

โดยเป็นการศึกษาแบบ Cross-Sectional Study ด้วยแบบสอบถามในผู้ป่วยนอก มะเร็งเต้านมสตรีของโรงพยาบาล St. Michael’s Hospital ช่วง ก.ค.2017-มิ.ย.2018 ที่ได้รับยาฮอร์โมนร่วมในวิธีรักษาต่อเนื่องนานอย่างน้อยตั้งแต่6เดือนขึ้นไป โดยมีผู้ป่วยฯที่มีข้อมูลครบทั้งหมดตามคณะผู้ศึกษากำหนด = 151 ราย อายุน้อยกว่า50ปี = 43.7% (เฉลี่ย =52.2 ± 10.2ปี), และได้รายงานการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์โรคมะเร็ง Current Oncology ฉบับ เดือน มี.ค.2022 ซึ่งผู้ป่วยที่ศึกษา มีกลุ่มได้รับยาต้านฮอร์โมนเพศหญิง Tamoxife n(TAM) = 51%(77 ราย), และยา Aromatase inhibitor(AI) = 49.0% (74 ราย)   

ผลการศึกษา: พบว่า

  • 1%, มีอาการข้างเคียงทางสูตินรีเวชบ่อยอย่างน้อย1อาการตลอดเวลาใน1ปีที่ผ่านมา, อาการพบบ่อยที่มีตลอดเวลา คือ ร้อนวูบวาบ (44.7%), ความต้องการ/ความรู้สึกทางเพศลง = 37.7%
  • 9%(44ราย) แพทย์ผู้รักษาเคยสอบถามถึงการมีอาการต่างๆทางสูติฯ
  • พบมีปัญหาทางเพศในผู้ป่วยที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธ์ทั้งหมด49ราย=61.2%
  • มีอาการร้อนวูบวาบ(Vasomotor symptoms)ที่เกิดจากร่างกายควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ไม่คงที่เหมือนปกติจากฮอร์โมนเพศที่ต่ำลงซึ่งเป็นอาการที่กระทบความสุขสบายต่อผู้ป่วยมากที่สุดในอาการทั้งหมดที่เกิด
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาการติดเชื้อของช่องคลอด (9%) ,และ/หรือ ของระบบทางเดินปัสสาวะ (84.6%)
  • 44 ราย (31.9%) ของผู้ป่วย ตอบคำถามว่า แพทย์เคยได้ถามถึงผลข้างเคียงทางสูติฯของยากลุ่มนี้
  • ผู้ป่วย 123 ราย (87.9%) ตอบว่ารู้สึกสะดวกใจที่จะให้แพทย์โรคมะเร็งที่รักษาพูดคุยกับผู้ป่วยถึงอาการทางด้านสูติฯที่รวมถึงปัญหาทางเพศสัมพันธ์
  • และจำนวนของอาการที่รวมถึงความรุนแรงของอาการขึ้นกับระยะเวลาที่ได้รับยาฯต่อเนื่อง

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า แพทย์มะเร็งควรตระหนักถึงผลข้างเคียง/อาการต่างๆทางด้านสูติฯจากยาต้านฮอร์โมนในมะเร็งเต้านมสตรีที่ได้รับยานี้ต่อเนื่องนานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป(ซึ่งปัจจุบัน อาจเป็น 2-5 ปี ขึ้นกับชนิดยา และในTamoxifen อาจให้นานถึง 10 ปี) ว่ามีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจึงควรพูดคุยให้คำแนะนำการดูแลรักษาก่อนให้ยาฯและตลอดระยะเวลาที่ติดตามรักษาผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตและได้รับยานี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งต่อตนเองและครอบครัวให้ได้ใกล้เคียงภาวะปกติให้มากที่สุด

บรรณานุกรม

  1. Alexandra Moskalewicz, et al. Curr Oncol. 2022; 29(3): 1813–1827.