คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลการรักษาทางทะลุระหว่างหลอดน้ำเหลืองกับผิวหนังหลังผ่าตัดด้วยรังสีรักษา

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลการรักษาทางทะลุระหว่างหลอดน้ำเหลืองกับผิวหนังหลังผ่าตัดด้วยรังสีรักษา

การผ่าตัดรักษาโรคด้านหลอดเลือด(Vascular surgery)ในบริเวณขาหนีบมักทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อระบบน้ำเหลืองในบริเวณดังกล่าวจนทำให้เกิดช่องทางทะลุ(Fistula)ของน้ำเหลืองไหลทะลุออกมาที่ผิวหนังในบริเวณขาหนีบ ซึ่งการรักษาอาจเป็นการรักษาตามอาการ, หรือการผ่าตัดซ่อมแซมซึ่งขึ้นกับปริมาณการเกิดน้ำเหลืองที่ไหลทะลุออกมาในแต่ละวัน  ในทางทฤษฎี การฉายรังสีรักษาปริมาณต่ำที่ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติ แต่จะเพียงพอที่จะลดการสร้างน้ำเหลืองลงจะช่วยให้ทางทะลุปิดตัวลงได้ จึงเป็นอีกวิธีรักษาที่ง่าย ปลอดภัย

 

 คณะแพทย์จากประเทศเยอรมนี นำโดย นพ. Matthias G Hautmann แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาจาก Department of Radiotherapy, University Hospital Regensburg, Regensburg, เยอรมนี จึงต้องการศึกษาผลของการฉายรังสีรวมถึงปริมาณรังสีที่ใช้ในกรณีดังกล่าวว่า เป็นอย่างไร และได้รายงานการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์ด้านรังสีรักษาของสหรัฐอเมริกา The International Journal of Radiation Oncology Biology &Physics ฉบับ 15 พฤศจิกายน 2021

         การศึกษานี้ ได้ศึกษาผู้ป่วยที่เกิดทางทะลุของน้ำเหลืองจากการผ่าตัดในบริเวณขาหนีบช่วงปี2005-2016 จากโรงพยาบาล German university hospital เยอรมนี ที่พบเกิดทางทะลุทั้งหมด 206 ทางะลุ/รอยโรคจากผู้ป่วย191ราย โดยได้รับปริมาณรังสี 3Gy/ครั้ง, 94รอยโรครวมปริมาณรังสีทั้งหมดต่อรอยโรค=9Gy, และ112 รอยโรค ได้รับรังสีฯต่อรอยโรค=18Gy, ค่ากึ่งกลางอายุผู้ป่วย=70.5ปี, 74%เป็นเพศชาย, และ26%เป็นเพศหญิง ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รังสีฯ

  • 88%ของผู้ป่วย มีปริมาณน้ำเหลืองลดน้อยกว่าเดิมหลัง   
  • 80%ลดเหลือน้อยกว่า50มล./24ชั่วโมง
  • 81%สามารถถอดท่อระบายน้ำเหลืองได้
  • 75%น้ำเหลืองหยุดไหล และไม่จำเป็นต้องมีการรักษาวิธีอื่นเพิ่มเติม
  • 63%มีการตอบสนองทั้ง4ประการดังกล่าวหลังได้รับรังสีครบ, 34%หลังได้ 9Gy
  • ก่อนฉายรังสีฯ ปริมาณน้ำเหลือง/วันประมาณ150มล., หลังฉายรังสีครั้งแรก3Gyครบ1วันปริมาณรังสีลดลงเหลือ 60มล./วัน
  • ระยะกึ่งกลางที่สามารถถอดท่อระบายน้ำเหลืองออกได้=3วันหลังครบรังสีฯ
  • ไม่พบการตอบสนองต่อรังสีฯต่างกันอย่างสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยที่ได้รังสีฯในช่วง 5-9วันหลังผ่าตัด หรือ ตั้งแต่10วันขึ้นไปหลังผ่าตัด(p=0.971)
  • การศึกษานี้ไม่พบว่าอะไรเป็นปัจจัยสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อรังสีฯ
  • 12% ของผู้ป่วยปริมาณน้ำเหลืองยังออกมากจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มด้วยการผ่าตัด
  • 13%ของผู้ป่วย มีผลข้างเคียงที่ไม่ได้เกิดจากรังสีฯ แต่จากแผลจากน้ำเหลืองไหลเรื้อรังซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า การฉายรังสีฯเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาภาวะเกิดทางทะลุของน้ำเหลืองหลังการผ่าตัดที่ขาหนีบ และการได้รับรังสีเร็ว(ไม่เกิน9วันหลังผ่าตัด)หรือตั้งแต่10วันขึ้นไปหลังผ่าตัดให้ผลการรักษาไม่ต่างกันทางสถิติ

 บรรณานุกรม

1. Internation Journal of Radiation Oncology Biology &Physics 2021; 111(4):949-958(abstract)  [2022,May17]