คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลรักษาระยะยาวด้วยรังสีฯ+/-ฮอร์โมนในมะเร็งต่อมลูกหมาก
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 13 มิถุนายน 2565
- Tweet
คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลรักษาระยะยาวด้วยรังสีฯ+/-ฮอร์โมนในมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก ทั่วโลกในปี 2018 พบบ่อยเป็นลำดับ4ของมะเร็งทุกชนิด และ เป็นลำดับ2ของมะเร็งเพศชาย ส่วนในประเทศไทย รายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี2018เช่นกัน พบบ่อยเป็นลำดับ4ของมะเร็งเพศชาย วิธีรักษาหลักในโรคระยะต้นๆที่ความรุนแรงโรคอยู่ระดับปานกลาง(Intermediate risk คือ โรคยังจำกัดเฉพาะในต่อมลูกหมาก, ลักษณะเซลล์มะเร็งGleason score ไม่เกิน7, และค่าสารมะเร็งPSA ไม่เกิน20 ng/ml, โรคกลุ่มนี้พบบ่อยที่สุด) นอกจากวิธีรักษาคือ การผ่าตัดคือ การฉายรังสีรักษาที่อาจให้รังสีฯวิธีเดียวหรือร่วมกับยาต้านฮอร์โมนเพศชายที่แพทย์โรคมะเร็งแห่งสหภาพยุโรป The European Organization for Research and Treatment of Cancer (EORTC) trial 22991 (NCT00021450)ได้เคยศึกษาและรายงานครั้งแรกในปี2003ว่าให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ
คณะแพทย์โรคมะเร็งจากยุโรปเช่นกันนำโดย นพ.Michel Bolla แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาจาก Radiotherapy Department Grenoble, Grenoble Alpes University, Centre Hospitalier Universitaire de Grenoble, Grenoble,ฝรั่งเศส ต้องการศึกษาต่อเนื่องเพื่อดูผลการรักษาในระยะยาวคือที่10ปี (ตั้งแต่ 12ปีขึ้นไป) ว่าการศึกษาดังกล่าว มีผลในระยาวเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีรักษาได้แก่ การฉายรังสีรักษาในผู้ป่วยความรุนแรงโรคปานกลาง 481 ราย สุ่มตัวอย่างโดยกลุ่มหนึ่งฉายรังสีรักษาวิธีการเดียว และอีกกลุ่มได้รังสีฯร่วมกับยาต้านฮอร์โมนเพศนาน6เดือนโดยเริ่มยาตั้งแต่วันแรกของการฉายรังสีฯ การฉายรังสีใช้เทคนิค3มิติโดยผู้ป่วย ได้รังสีฯ74Gy=72.1%,และ78Gy=28.9% ของผู้ป่วยทั้งหมด, และมีระยะกึ่งกลางติดตามโรค=12.2ปี ผลการรักษาได้แก่
- ผู้ป่วยทั้งหมดเกิดโรคกลับเป็นซ้ำจากค่าPSAสูงเกินปกติ(PSA relapse) 7%, และเสียชีวิต45.1%
- กลุ่มได้รับรังสีฯ+ยาต้านฮอร์โมนมีอัตราปลอดจากอาการโรค(Event free survival), และอัตราปลอดโรค(Disease free survival)สูงกว่ากลุ่มได้รังสีฯวิธีเดียวอย่างสำคัญทางสถิติ,p<0.001,และ p=0.008 ตามลำดับ
- ที่10ปี: พบอัตราปลอดโรคแพร่กระจาย(Distant metastasis free survival)=79.3%ในกลุ่มได้รังสีฯ+ยาต้านฮอร์โมนฯ, และ 7%ในกลุ่มได้รังสีฯเพียงวิธีเดียวซึ่งไม่ต่างกันอย่างสำคัญทางสถิติ,p=0.065
- อัตรารอดชีวิตที่10ปี=80.0%ในกลุ่มได้รังสีฯ+ยาต้านฮอร์โมนฯ, และ 3%ในกลุ่มได้รังสีฯเพียงวิธีเดียวซึ่งไม่ต่างกันอย่างสำคัญทางสถิติ,p=0.082
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ในมะเร็งต่อมลูกหมากกลุ่มมีความรุนแรงโรคระดับปานกลาง การรักษาด้วยการฉายรังสีฯ+ยาต้านฮอร์โมนฯนาน6เดือน เพิ่มอัตราปลอดอาการจากโรคและอัตราปลอดโรคได้อย่างสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มได้รังสีฯวิธีเดียว แต่อัตรารอดชีวิตและอัตราปลอดแพร่กระจายทางกระแสเลือดไม่ต่างกันอย่างสำคัญทางสถิติ
บรรณานุกรม
- Imsamran, W. et al. (2018). Cancer in Thailand vol ix, 2013-2015, National Cancer Institute, Ministry of Public Health. Thailand
- https://www.wcrf.org/dietandcancer/prostate-cancer-statistics/ [2022,May17]
- JCO 2021;39(27):3022-3033