คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งรังไข่

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งสตรีที่มีธรรมชาติของโรคค่อนข้างรุนแรง ปีค.ศ.2020มีรายงานสถิติเกิดของมะเร็งรังไข่พบบ่อยทั่วโลกเป็นลำดับ18ของมะเร็งทุกชนิดทั้งเพศหญิงและเพศชาย และเป็นลำดับ8ของมะเร็งทุกชนิดในเพศหญิง ส่วนประเทศไทย รายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ค.ศ.2021 พบบ่อยเป็นลำดับ8เช่นกันของมะเร็งสตรีไทย

เช่นเดียวกับมะเร็งทุกอวัยวะ มะเร็งรังไข่มีหลากหลายชนิดย่อย แต่เกือบ90%เป็นชนิดเกิดจากเนื้อเยื่อบุผิวที่มักพบในวัย40-50ปีขึ้นไป ดังนั้นทั่วไปเมื่อกล่าวถึงมะเร็งรังไข่โดยไม่เจาะจงชนิด จะหมายถึงมะเร็งรังไข่ชนิดเกิดจากเนื้อเยื่อบุผิว

ทั้งนี้ สตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งรังไข่ชนิดเกิดจากเยื่อบุผิว คือ

  • อายุมากกว่า55ปี
  • มีคนในครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวสายตรง(พ่อ แม่ พี่ น้องท้องเดียวกัน)เป็นมะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, และ/หรือ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ตนเองเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีความผิดปกติในพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้
  • มีจีน/ยีนชนิด BRCA1, BRCA2
  • มีจีนผิดปกติที่ทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิดในคนคนเดียว เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่ไม่ได้เกิดจากติ่งเนื้อเมือก, มะเร็งรังไข่, มะเร็งกระเพาะอาหาร, เนื้องอก/มะเร็งสมอง, มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ, มะเร็งผิวหนัง ซึ่งเรียกว่า ’โรค/กลุ่มอาการลิ้นช์(Lynch syndrome)’ อย่างไรก็ตามโรคนี้พบน้อย ประมาณ 35%ของประชากรและมักเป็นคนเชื้อชาติ ยุโรปตะวันออก, ยิว, อัฟริกันอเมริกัน
  • ไม่เคยตั้งครรภ์
  • มีธรรมชาติเป็นหมัน
  • เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

  คำแนะนำของแพทย์ คือ สตรีทุกรายควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำปีที่รวมถึงระบบอวัยวะสืบพันธ์ทุกปี เริ่มได้ตั้งแต่อายุ18ปี โดยเฉพาะผู้มีปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งที่สำคัญคือ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งโดยเฉพาะที่เกิดในช่วงอายุน้อย เพราะมะเร็งที่มีสาเหตุทางพันธุกรรมมักเกิดได้ในช่วงอายุที่น้อยกว่าการเกิดมะเร็งในคนทั่วไป   

บรรณานุกรม

  1. J.et al.(2021).Cancer in Thailand Vol X, 2016-2018,Thailand
  2. https://www.acog.org/womens-health/faqs/ovarian-cancer [2022,May17]
  3. https://www.wcrf.org/cancer-trends/worldwide-cancer-data/ [2022,May17]