คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน การรักษาเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่นด้วยยาทาม็อกซิเฟน
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 4 เมษายน 2565
- Tweet
คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน การรักษาเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่นด้วยยาทาม็อกซิเฟน
เนื้อเยื่อเต้านม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลัก3ชนิด คือ เนื้อเยื่อต่อมสร้างน้ำนม, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันโดยเฉพาะเนื้อเยื่อพังผืด, และเนื้อเยื่อไขมัน, ซึ่งในสตรีวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว เนื้อเยื่อไขมันจะพบน้อยแต่พบเนื้อเยื่อพังผืดมาก แต่ในวัยกลางคนจะพบเนื้อเยื่อไขมันสูงขึ้นมาก ซึ่งการตรวจแมมโมแกรม(การตรวจภาพรังสีเต้านม)สามารถตรวจเห็นภาวะเหล่านี้ได้ชัดเจน
จากการศึกษาต่างๆพบว่า การมีเนื้อเยื่อพังผืดหนาแน่น/แน่นทึบเกินปกติที่เรียกว่า ‘เนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่น(เดนซ์เบรสท/Dense breast)’เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านม นอกจากนั้น ยังสมารถบดบังหินปูนมะเร็งเต้านมที่มีขนาดชิ้นเล็กมากๆได้เป็นอย่างดีที่ส่งผลให้การแปลผลตรวจแมมโมแกรมผิดพลาดได้ คือ แพทย์จะอ่านผลว่า ไม่เป็นมะเร็งฯ(คือเกิด ผลลบล่วงนั่นเอง)
และการศึกษาต่างๆยังพบว่า การลดภาวะเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่นจะเกิดได้จากการกินยาชื่อ’ทาม็อกซิเฟน(Tamoxifen ย่อว่า แทม มักย่อว่า Tam)’ขนาด(โดส/Dose)20มก./วัน แต่ยานี้มีผล/อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ อาการ ร้อนวูบวาบ เหงื่ออกมากโดยที่ตัวเย็น และเหงื่อออกกลางคืน ซึ่งสตรีหลายคนที่บริโภคTamวันละ20 มก.จะมีอาการดังกล่าวมากจนกระทบต่อคุณภาพชีวิต
คณะนักวิทยาศาสตร์และแพทย์จากสวีเดน นำโดย ดร.Mikael Eriksson จาก Department of Medical Epidemiology and Biostatistics, Karolinska Institutet, Stockholm ประเทศสวีเดน จึงต้องการศึกษาว่า ปริมาณTam ขนาดต่ำกว่า20มก./วัน จะสามารถลดภาวะเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่นลงได้เหมือนกับการได้รับTam20มก.และลดความรุนแรงอาการข้างเคียงดังกล่าวลงได้หรือไม่ และได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็ง สหรัฐอเมริกา JCO ฉบับ 10มิถุนายน 2021
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาทางการแพทย์ระยะ2 ศึกษาในสตรีสวีเดนวัย 40-74ปี จากโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสวีเดน the Swedish mammography screening program ที่สมัครใจเข้าร่วมในการศึกษา ในช่วง 1ตุลาคม2016 ถึง 30กันยายน2019 โดยผู้ศึกษาทั้งหมด 1,439ราย (วัยมีประจำเดือน=566ราย,และวัยหมดประจำเดือน=873ราย) แบ่งเป็น 6 กลุ่มด้วยการสุ่มตัวอย่าง คือ ยาหลอก, Tam 1 มก, 2.5มก., 5มก., 10 มก. และ20 มก., ผู้รับการศึกษาได้รับยาฯทุกวันต่อเนื่องนานเป็นเวลา6เดือน
ผลการศึกษาพบว่า:
- สตรีที่ภาพแมมโมแกรมแสดงการลดลงของภาวะเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่นได้เช่นเดียวกับการกินTam 20มก./วัน คือกลุ่มสตรีที่กินTamในทุกกลุ่ม แต่ได้ผลเฉพาะผู้ป่วยกลุ่ม ’มีประจำเดือน’ เท่านั้น
- อาการรุนแรงจากผลข้างเคียงของTam จะลดลงประมาณ50%ในทุกกลุ่มที่ได้Tamน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มได้Tam 20 มก./วัน
คณะผู้ศึกษา สรุปว่า ในสตรีกลุ่มวัยมีประจำเดือน ถึงแม้ได้Tamเพียง2.5มก./วันก็ยังสามารถลดการเกิดภาวะเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่นลงได้เหมือนในกลุ่มได้Tam20มก./วัน แต่จะช่วยลดความรุนแรงจากผลข้างเคียงลงได้ด้วย ดังนั้น ในอนาคตจึงควรศึกษาเพิ่มเติมว่า Tam 2.5มก/วันสามารถลดอัตราเกิด หรือ ปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมลงได้หรือไม่
บรรณานุกรม
- Mikael Eriksson, et al. JCO 2021; 39(17): 1899-1908 (abstract). https://ascopubs.org/doi/full/10.1200/JCO.20.02598 [2022,March8]
- https://www.cancer.gov/types/breast/breast-changes/dense-breasts [2022,March8]