คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อัตราเกิดมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากติดเชื้อเอชพีวี
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 31 มกราคม 2565
- Tweet
คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อัตราเกิดมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากติดเชื้อเอชพีวี
การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี(HPV,Human papilloma virus)ของอวัยวะต่างๆในร่างกายเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งของอวัยวะนั้นๆได้ ซึ่งซีดีซี/CDC ของสหรัฐอเมริกา/ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา(US CDC=United States Centers of Diseases Control and Prevention)ได้ระบุถึงชนิดของมะเร็งที่มีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากไวรัสนี้ได้แก่ มะเร็งชนิด เอสซีซี/สแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา(SCC= Squamous cell carcinoma)ของอวัยวะต่อไปนี้ คือ คอหอยส่วนปาก, ทวารหนัก, ไส้ตรง, อวัยวะเพศภายนอกของสตรี(โยนี), ช่องคลอด, ปากมดลูก, และอวัยวะเพศชาย
คณะผู้ศึกษาจากไต้หวันและสหรัฐอเมริกา นำโดย Cheng-I Liao จาก Kaohsiung Veterans General Hospital, Kaohsiung, ไต้หวัน ต้องการศึกษาเพื่อจะให้ทราบถึงแนวโน้มอัตราการเกิดมะเร็งชนิดSCC ของอวัยวะต่างๆที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีในสหรัฐอเมริกาในรอบ15ปีที่ผ่านมาเพื่อดู ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งและการฉีดวัคซีนเอชพีวี(หรือวัคซีนมะเร็งปากมดลูก) และได้รายงานผลการศึกษานี้ในการประชุมประจำปี 2021(4-8 มิถุนายน) แบบ Online ของสมาคมโรคมะเร็งสหรัฐอเมริกา(American Society of Clinical Oncology), abstract 107
การศึกษาใช้ข้อมูลจาก the United States Cancer Statistics program ช่วงปี 2001-2017 และใช้สถิติการศึกษาโดย SEER*Stat 8.3.8 and Joinpoint regression program 4.8.0.1 เพื่อคำนวณแนวโน้มของการเกิดมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากเอชพีวีต่อประชากร100,000คน
ผลการศึกษา:
เพศหญิง:
- ในปี 2017 อัตราเกิดมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากติดเชื้อเอชพีวี=68/100,000ราย โดย 52%คือมะเร็งปากมดลูก,ในปี 2017= 7.12/100,000 ราย
- ใน16 ปีที่ผ่านมา อัตราเกิดมะเร็งปากมดลูกลดลงปีละ03% (p < 0.001) ในขณะที่
- มะเร็งคอหอยส่วนปาก: อัตราเพิ่มปีละ77% (p < 0.001)
- มะเร็งทวารหนักและไส้ตรง: เพิ่มปีละ75% (p < 0.001)
- มะเร็งโยนี:เพิ่มปีละ 27% (p < 0.001)
- สถิติคาดการไปข้างหน้าพบว่ามะเร็งทวารหนักและไส้ตรงจะพบสูงกว่ามะเร็งปากมดลูกในปี 2025 ในผู้หญิงกลุ่มอายุ55ปีขึ้น
เพศชาย:
- ในปี 2017 อัตราเกิดมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากติดเชื้อเอชพีวี=11.0/100,000ราย, โดย81%เป็นมะเร็งคอหอยส่วนปาก
- ใน16ปีที่ผ่านมา อัตราเกิดมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากเอชพีวี/ปีเพิ่ม=2.36%(p < 0.001), ที่พบสูงสุดคือ มะเร็งคอหอยส่วนปาก= 71%/ปี, p < 0.001, ซึ่งพบสูงมากในช่วงอายุ 65-69ปี พบเป็น 36.5/100,000 ราย คิดเป็นอัตราเพิ่ม 4.24%/ปี (p < 0.001), ส่วนมะเร็งทวารหนักและไส้ตรง=1.71%/ปี( p < 0.001)
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า มะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากติดเชื้อเอชพีวี อัตราเกิดมะเร็งปากมดลูก/ปีลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบ15ปี อาจเพราะจากมีการตรวจคัดกรองร่วมกับการฉีดวัคซีนเอชพีวี ในขณะที่อัตราเกิดมะเร็งอวัยวะอื่นที่ไม่มีการตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีน มีอัตราเกิด/ปีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักเพราะมะเร็งเหล่านี้เป็นมะเร็งที่ป้องกันได้จากการตรวจคัดกรองและการฉีดวัคซีน
บรรณานุกรม
https://meetinglibrary.asco.org/record/196627/abstract [2022,Jan10]