คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อาหารกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อาหารกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

ทั่วโลก พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในทั้งสองเพศบ่อยเป็นลำดับ3 รองจาก มะเร็งเต้านมและมะเร็งปอด และมีอัตราตายเป็นลำดับ 2 รองจากมะเร็งปอด

ส่วนในประเทศไทย รายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเมื่อ 2018 พบมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงเป็นลำดับ3ในชายไทย รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอดตามลำดับ, ส่วนในหญิงไทยพบเป็นลำดับ4รองจาก มะเร็งเต้านม, มะเร็งตับ, และมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ    

คณะนักวิทยาศาสตร์จากหลายด้าน เช่น  เภสัชกรรม, โภชนาการ, โรคมะเร็ง, จากสหรัฐอเมริกาและจากมาเลเซีย นำโดย ดร. Sajesh K. Veettil จาก Department of Pharmacotherapy, College of Pharmacy, University of Utah, Salt Lake City, สหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ว่า อาหารกลุ่มใดที่เป็นปัจจัยลดอัตราเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่, เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่, หรือ ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ใหญ่, และได้เผยแพร่การศึกษานี้ทางอินเทอร์เนตในวารสาการแพทย์ JAMA Network Open เมื่อ 16 กุมภาพันธ์  2021

โดยเป็นการศึกษาด้วยวิธี  Meta-analyses of prospective observational studies จากการทบทวนกาศึกษาวิจัยที่เป็น Prospective observational studiesที่มีรายงานทางอินเทอร์เนต  เท่าที่มีรายงานจนถึงเดือน กันยายน 2019  มีทั้งหมดที่รายงานในเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และอาหาร= 9,954 รายงาน แต่พบมีรายงานที่เป็นFull text และอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้ศึกษาต้องการและนำมาศึกษาในครั้งนี้ทั้งหมด 45 การศึกษา

         การศึกษาได้ผลว่า อาหารที่บริโภค ที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ

  • ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่: คือ การบริโภคปริมาณสูงและต่อเนื่อง ได้แก่ เนื้อแดง , และสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ที่’ลด’อัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ
  • บริโภคปริมาณสูง: ได้แก่ อาหารมีกากใย, แคลเซียม, และโยเกิร์ต 
  • และบริโภคในปริมาณต่ำ/เป็นครั้งคราว คือ เนื้อแดง และสุรา
  • อาหารอื่นๆที่ ’อาจ’มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งในด้านเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยง  ได้แก่  นม, ธัญพืชไม่ขัดสี, เนื้อสัตว์แปรรูป, การกินอาหารซ้ำๆ
  • คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนในการแนะนำประชาชน ในกลุ่มอาหารที่ผลการศึกษานี้สรุปว่า ผลการศึกษาไม่ชัดเจน  ได้แก่ นม, ธัญพืชไม่ขัดสี, เนื้อสัตว์แปรรูป, การกินอาหารซ้ำๆ

บรรณานุกรม

  1. Imsamran, W. et al. (2018). Cancer in Thailand vol ix, 2013-2015, National Cancer Institute, Ministry of Public Health. Thailand
  2. JAMA Netw Open. 2021;4(2):e2037341. https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2776517  [2021,Nov23]
  3. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer [2021,Nov23]