คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน เปรียบเทียบอัตรารอดชีวิตระหว่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวาและด้านซ้าย

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน เปรียบเทียบอัตรารอดชีวิตระหว่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวาและด้านซ้าย

มะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยทั่วโลก สำหรับประเทศไทย รายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ในปีค.ศ. 2018 พบบ่อยเป็นลำดับ3ในเพศชาย และลำดับ4ในเพศหญิง ส่วนทั่วโลกพบสูงเป็นลำดับ5ในมะเร็งรวมทุกเพศ

         ลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็น ด้านขวาและ ด้านซ้าย

  • ด้านขวาได้แก่ ลำไส้ส่วนที่เรียกว่า Caecum,  ไส้ติ่ง,  Ascending colon, จนถึงลำไส้ส่วนขวาง   
  • ด้านซ้าย ได้แก่ ลำไส้ส่วน Descending colon จนถึง ส่วน Rectosigmoid  

มีรายงานในปี 2004 พบมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดบ่อยในด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา, 69%  และ 31% ตามลำดับ โดยพบบ่อยที่สุดในตำแหน่ง Rectosigmoid

คณะแพทย์จากประเทศญี่ปุ่น นำโดยศัลยแพทย์ นพ. Mitsuru Ishizuka จาก Department of Gastroenterological Surgery, Dokkyo Medical University, Tochigi, ญี่ปุ่น ต้องการศึกษาว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวาและด้านซ้ายมีอัตรารอดที่5ปีต่างกันอย่างไรเมื่อให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อการหายขาดเพียงวิธีการเดียว และได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์โรคมะเร็ง The Oncologist ออนไลน์เดือน มีนาคม 2021

 การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Meta analysis โดยสืบค้นข้อมูลจากวารสารการแพทย์ต่างๆทางอินเทอร์เนต จนถึงปี 2019  และ ใช้ random‐effects models to calculate the risk ratio (RR) and 95% confidence interval (CI) for the selected PSM (propensity score‐matching)studies

ผลการศึกษา มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สามารถนำมาศึกษาครั้งนี้ที่ได้จาก 5 การศึกษา, 398,687 ราย

  • เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา 205,641 ราย, ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่=69,091ราย(6%)
  • เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านซ้าย 193,046 ราย, ซึ่งกลุ่มนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่= 63,380 ราย(8%)

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ผู้ป่วยทั้ง2กลุ่มมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้านขวาและด้านซ้าย ระยะโรคที่ให้การรักษาโดยผ่าตัดแบบหายขาดเพียงวิธีการเดียว มีอัตรารอดที่5 ปี ไม่ต่างกันทางสถิติ,  RR, 0.98; 95% CI, 0.89–1.07; p = 0.64

 

บรรณานุกรม

  1. D Gomez et al. Postgrad Med J 2004;80:667–669: https://pmj.bmj.com/content/postgradmedj/80/949/667.full.pdf    [2021,Oct18]
  2. Imsamran, W. et al. (2018). Cancer in Thailand vol ix, 2013-2015, National Cancer Institute, Ministry of Public Health. Thailand
  3. Mitsuru Ishizuka et al, The Oncologist, March 2021 (online) https://theoncologist.onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1002/onco.13555 [2021,Oct18]
  4. https://acsjournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.3322/caac.21660 [2021,Oct18]