ความรู้สึกน้อยเกิน (Hypoesthesia) – Update
- โดย อาภาภรณ์ โชติกเสถียร
- 1 ตุลาคม 2567
- Tweet
สารบัญ
- เกริ่นนำ
- นานาโรค
- โรคน้ำหนีบ
- เนื้องอกเส้นประสาทบริเวณคอ
- โรคอักเสบของสมองส่วนหลัง
- เนื้องอกทูเบอร์คูลอซิสในไขสันหลัง
- ความผิดปกติทางประสาทสัมผัสผิวหนัง
- โรคเหน็บชา (Beriberi)
- การวินิจฉัย
- การรักษา
เกริ่นนำ (Introduction)
ความรู้สึกน้อยเกิน (Hypoesthesia) หรือ ความรู้สึกสัมผัสลดลง (อาการชา) เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากความผิดปกติของร่างกายในหลายๆ โรค ซึ่งทำให้สูญเสียความไวต่อสิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัสบางส่วน โดยทั่วไปเรามักเรียกอาการที่เกิดขึ้นในภาษาพูดว่า “อาการชา”
โรคความรู้สึกน้อยเกิน ส่วนใหญ่เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาท และการอุดตันของหลอดเลือด เป็นผลให้เนื้อเยื่อบางส่วนเกิดการขาดเลือดเฉพาะที่ ซึ่งความเสียหายนี้สามารถตรวจพบด้วยเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์แบบต่าง ๆ (Imaging studies) โรคที่สามารก่อให้เกิดอาการความรู้สึกน้อยเกินไป มีดังต่อไปนี้
นานาโรค (Diseases)
- โรคน้ำหนีบ (Decompression sickness)
โรคน้ำหนีบ (Decompression sickness) เป็นโรคที่คนทั่วไปอาจไม่ค่อยคุ้นหู แต่มีความสำคัญมากในกลุ่มนักดำน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่กระโจนขึ้นผิวน้ำอย่างรวดเร็ว จากระดับน้ำที่ลึกกว่า 20 ฟุตขึ้นไป โรคน้ำหนีบอาจแสดงอาการแตกต่างกันออกไป รวมถึง อาการความรู้สึกน้อยเกิน อันเป็นผลมาจาก แก๊สเฉื่อยในร่างกายรวมตัวกันทำให้เกิดฟองก๊าซ ไปอุดตันภายในกระแสเลือด หรือซึมเข้าเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงทำให้การส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อบางส่วนไม่เพียงพอ ในกรณีอาการความรู้สึกน้อยเกินที่เกิดจากโรคน้ำหนีบ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ออกซิเจนแรงดันสูง เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ กลับมาทำงานได้ปกติ และเพิ่มระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับปกติ
- เนื้องอกเส้นประสาทบริเวณคอ (Trigeminal schwannoma)
เนื้องอกเส้นประสาทคอทริกีมินัล เป็นภาวะจากการเกิดเนื้องอกบนเส้นประสาททริกีมินัล (หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยวอาหารและรับความรู้สึกบนใบหน้า) ทำให้การรับรู้ในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทนี้ถูกปิดกั้น สำหรับคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคเส้นประสาททริกีมินัล การเกิดความรู้สึกน้อยเกินบนใบหน้าถือเป็นอาการปกติที่มักพบได้ วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคเนื้องอกเส้นประสาทคอทริกีมินัลมีวิธีเดียวคือ การผ่าตัดก้อนเนื้องอก แต่กระนั้นก็อาจไม่สามารถรักษาอาการความรู้สึกน้อยเกินที่เกิดขึ้นได้หากเส้นประสาทถูกทำลายไปแล้ว ผู้ป่วยหลายรายยังคงมีอาการนี้อยู่ ในบางรายพบว่ามีอาการเพิ่มมากขึ้นด้วย
- โรคสมองส่วนหลังอักเสบ (Rhombencephalitis)
โรคสมองส่วนหลังอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่หลุดเข้าไปในก้านสมองและเส้นประสาททริกีมินัล ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับโรคเนื้องอกเส้นประสาททริกีมินัล การอักเสบของสมองส่วนหลังอาจเกิดก่อให้เกิดอาการความรู้สึกน้อยเกินบนใบหน้า จากสาเหตุของภาวะการกดประสาทของผิวหนังชั้น V1 ถึง V3 การรักษาที่ดีที่สุดคือ ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น แอมพิซิลลิน เพื่อกำจัดแบคทีเรียและลดการติดเชื้อ
- โรคเนื้องอกทูเบอร์คูลอซิสในไขสันหลัง (Intradural extramedullary tuberculoma of the spinal cord: IETSC)
IETSC เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณไขสัน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการความรู้สึกน้อยเกินในทุกส่วนของร่างกายที่เชื่อมต่อกับเส้นประสาทไขสันหลัง เพราะเมื่อร่างกายขาดความสามารถในการส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ความรู้สึก
- โรคประสาทสัมผัสผิวหนังผิดปกติ (Cutaneous sensory disorder)
อาการความรู้สึกน้อยเกิน เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคประสาทสัมผัสผิวหนังผิดปกติ (CSD) ผลจากการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ สามารถก่อให้เกิดระบบประสาททำงานมากกิน (รู้สึกเจ็บแสบ คัน หรือร้อน) หรือการทำงานลดลง (การชาหรือความรู้สึกน้อยเกิน)
- โรคเหน็บชา (Beriberi)
อาการความรู้สึกน้อยเกินที่เกิดขึ้น (และกระจายออก) จากเท้า นิ้วมือ สะดือ และ/หรือ ริมฝีปาก เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเหน็บชา ซึ่งเป็นสัญญาณของการขาดวิตามินบี 1 หรือไทอามีน
การวินิจฉัย (Diagnosis)
แพทย์มักซักถามรายละเอียดของผู้ป่วยที่มีอาการความรู้สึกน้อยเกิน เพื่อความแม่นยำในการระบุตำแหน่งที่เกิด และความรุนแรงของอาการ ตามด้วยการทดสอบโดยเคาะเบา ๆ บนผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยว่ามีความรู้สึกมากน้อยเพียงใด จากนั้นแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของโรค ซึ่งในการตรวจเพิ่มเติมของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดอาการ เช่น การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) วิธีนี้จะเป็นการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าเพื่อวัดกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าเส้นประสาท ช่วยระบุความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ และการทดสอบการตอบสนองต่าง ๆ (reflex test ) เช่น การทดสอบการสะท้อนของกระดูกสะบ้า (patellar reflex)
การรักษา (Treatment)
การรักษาอาการความรู้สึกน้อยเกิน มักมุ่งเป้าไปที่การตรวจหาโรคหรือความเจ็บป่วยที่เป็นไปได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการสูญเสียความรู้สึก
อ่านตรวจทานโดย ศ. นพ. สมศักดิ์ เทียมเก่า
แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Hypoesthesia [2024, September 29] โดย อาภาภรณ์ โชติกเสถียร