ความรู้สึกน้อยเกิน (Hypoesthesia)
- โดย ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า
- 27 ธันวาคม 2556
- Tweet
ความรู้สึกน้อยเกิน คือ ความรู้สึกที่ลดลงผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น/ตัวกระตุ้น เช่น การสัมผัส ความเจ็บปวด รสอาหาร การได้ยิน เป็นต้น ความหมายคล้ายกับอาการชา (Anesthesia) ซึ่งก็มีความหมายว่าไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกที่ได้รับเลย
ความรู้สึกน้อยเกิน มีสาเหตุจาก วงจรรับรู้ความรู้สึกทำงานผิดปกติ โดยมีสาเหตุจากโรคต่างๆ ทั้งในระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system: CNS) และ/หรือ ระบบประ สาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system: PNS)
- สาเหตุความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system: CNS) ได้แก่ ความผิดปกติที่เกิดกับสมองส่วน ธาลามัส (Thalamus), สมองใหญ่ส่วนกลีบขมับ (Parietal lobe), และ/หรือ กับไขสันหลังทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง เช่นจาก โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอกสมอง อุบัติเหตุต่อสมอง และโรคไขสันหลัง
- สาเหตุความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous sys tem: PNS) ได้แก่ ความผิดปกติที่เกิดที่รากประสาท (Nerve root) และที่เส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerve) เช่น ใน โรคเส้นประสาทอักเสบจากภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ หรือ โรคเส้นประสาทเหตุเบาหวาน
ทั้งนี้ เมื่อมีอาการผิดปกตินี้ที่พบว่าเป็นมากขึ้น หรืออาการรุนแรงมากขึ้นจน ก่อให้เกิดความรำคาญหรือส่งผลต่อการใช้ชีวิต ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอ
การพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อการรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุ และผู้ ป่วยควรเข้าใจธรรมชาติของโรค เพราะบางครั้งโรคตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดี
นอกจากนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ การเกิดแผล เพราะผู้ป่วยที่มีอาการความรู้สึกน้อยเกินนั้น จะรู้สึกเจ็บปวดน้อยลงมาก จึงต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุต่อร่างกาย โดยเฉพาะ นิ้วเท้า เท้า ควรใช้รองเท้าที่พอดี ไม่คับเกินไป ควรใช้รองเท้าที่ห่อหุ้มเท้ามิดชิด เป็นต้น และต้องหมั่นดูแลเท้า เพราะดังกล่าวแล้วว่า เป็นตำแหน่งที่เกิดแผลได้งาย ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แผลจะหายช้ามาก