ขำไม่ออกกับก๊าซหัวเราะ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

ขำไม่ออกกับก๊าซหัวเราะ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

แพทย์อาจให้ออกซิเจนตามในการไล่ก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกจากร่างกาย เพื่อช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวหลังการทำหัตถการ โดยการได้รับออกซิเจนที่พอเพียงจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

ทั้งนี้ แพทย์จะไม่ใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์กับผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • มีการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
  • มีประวัติการเจ็บป่วยโรคทางเดินหายใจหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease = COPD)
  • มีโรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่า methylenetetrahydrofolate reductase deficiency
  • มีภาวะขาดวิตามินบี 12 (cobalamin deficiency)
  • มีประวัติโรคทางจิต
  • มีประวัติการใช้สารเสพติด

และแม้ว่าการใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์จะปลอดภัยในทางการแพทย์ แต่การใช้ในปริมาณที่มากหรือเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • เคืองจมูก ตา และคอ
  • ไอจามหรือหายใจลำบาก
  • สำลักหรือแน่นหน้าอก
  • ชัก
  • มือเท้าและริมฝีปากคล้ำ
  • แขนขาอ่อนแรง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • โรคจิต (psychosis) หรือ ประสาทหลอน (hallucinations)
  • ความดันโลหิตสูงซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง(stroke) หรือ ภาวะหัวใจวาย
  • มีเสียงในหู
  • สูญเสียความจำ
  • สมองถูกทำลาย
  • โคม่าหรือเสียชีวิต

            แหล่งข้อมูล

  1. Potential Side Effects of Nitrous Oxide. https://www.healthline.com/health/nitrous-oxide-side-effects [2022, January 21].
  2. What to Know About Laughing Gas. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-to-know-about-laughing-gas [2022, January 21].
  3. nitrous oxide. https://www.britannica.com/science/nitrous-oxide [2022, January 21].