กระหายน้ำมาก (Polydipsia) - Update
- โดย พรธีรา การเกษม
- 14 ธันวาคม 2567
- Tweet
สารบัญ
เกริ่นนำ
สาเหตุ
- โรคเบาหวาน
- โรคเบาจืด
- สาเหตุทางสรีรวิทยาอื่นๆ
- การดื่มน้ำบ่อยแบบปฐมภูมิ (Primary Polydipsia)
- การดื่มน้ำบ่อยจากภาวะทางจิต
- การวินิจฉัย
เกริ่นนำ
Polydipsia คือ ภาวะดื่มน้ำบ่อยหรือการดื่มน้ำมากเกินไป คำนี้มาจากภาษากรีก πολυδίψιος (Poludípsios) แปลว่า 'ดื่มน้ำบ่อย' ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ πολύς (Polús) แปลว่า 'มาก, หลาย บ่อย' และ δίψα (Dípsa) แปลว่า “ดื่ม” Polydipsia เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงในโรคทางการแพทย์ต่างๆ นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติในสัตว์บางชนิดที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น นก
สาเหตุ
- โรคเบาหวาน
Polydipsia อาจเป็นลักษณะเฉพาะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus) โดยมักเป็นอาการเริ่มแรก และพบได้ในผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีซึ่ง มักเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาต้านเบาหวาน
- โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus = เบา/ปัสสาวะ ไร้น้ำตาล ตรงข้ามกับเบาหวาน) ก็เกิดอาการของ Polydipsia ได้เช่นกัน
- สาเหตุทางสรีรวิทยาอื่นๆ
อาการ Polydipsia อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของสารน้ำ (Osmolality) ภายนอกเซลล์ของร่างกาย ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) การลดลงของปริมาณเลือด (ที่เกิดขึ้นในระหว่างการตกเลือดครั้งใหญ่) และภาวะอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายต้องสูญเสียน้ำ ซึ่งมักเป็นผลพวงจากน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะพร้อมกับสารละลายที่เข้มข้น เกิดภาวะที่เรียกว่า Osmotic diuresis
Polydipsia ยังเป็นอาการหนึ่งของพิษจากยาต้านโคลีน (Anticholinergic Poisoning) เป็นที่ทราบกันดีว่า สังกะสี (Zinc) สามารถลดอาการของ Polydipsia ได้โดยช่วยให้ร่างกายดูดซึมของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ลดอาการท้องเสีย ทำให้เกิดท้องผูก) และช่วยให้ร่างกายกักเก็บโซเดียมมากขึ้น ดังนั้น ารขาดสังกะสีจึงอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
อาการร่วมกันของภาวะกระหายน้ำบ่อย (Polydipsia) และปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน (Nocturnal polyurea) อาจพบได้ในภาวะที่มีฮอร์โมน Aldosterone ในเลือดสูง (Hyperaldosteronism) (ซึ่งมักพบร่วมกับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ) ยารักษาโรคทางจิตเวชอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระหายน้ำได้
- การดื่มน้ำบ่อยแบบปฐมภูมิ (Primary Polydipsia)
Polydipsia แบบปฐมภูมิ คือ การกระหายน้ำและการดื่มน้ำบ่อยเกินไปโดยไม่มีสิ่งกระตุ้นทางสรีรวิทยาที่ทำให้รู้สึกกระหาย ซึ่งรวมทั้ง กระหายน้ำบ่อยจากภาวะทางจิตแบบปฐมภูมิ (Psychogenic Primary Polydipsia) และ Polydipsia ที่ไม่เกี่ยวข้องกับจิตใจ เช่นในผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเองและมีระดับโกลบูลินที่สูงมาก
- การดื่มน้ำบ่อยจากภาวะทางจิต (Psychogenic Polydipsia)
Psychogenic Polydipsia คือการดื่มน้ำมากเกินไปที่พบในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) หรือผู้ที่มีพัฒนาการบกพร่อง ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากปริมาณน้ำที่รับเข้าสูงกว่าปริมาณที่ไตสามารถขับออกได้ และในบางกรณีที่หายาก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากระดับโซเดียมในเลือดเจือจางลงจนทำให้เกิดอาการชักและหัวใจหยุดเต้น
แม้ว่า Psychogenic Polydipsia มักไม่เกิดนอกกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตขั้นรุนแรง แต่ก็มีหลักฐานยืนยันว่าอาจพบได้ในรูปแบบที่เบากว่า (มักถูกเรียกว่า กระหายน้ำ หรือ ดื่มน้ำบ่อยเป็นนิสัย (Habit Polydipsia หรือ Habit Drinking) โดยไม่มีอาการทางจิตหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ การดื่มน้ำในระดับที่มากเกินไปอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคเบาจืด (Diabetes insipidus) เนื่องจากการดื่มน้ำมากเกินไปอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยโรคผิดว่าเป็นโรคเบาจืดแบบไม่รุนแรงได้
ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อโรคเบาจืด (diabetes insipidus) ว่า "การดื่มน้ำบ่อยเป็นนิสัย (ในรูปแบบที่รุนแรงที่สุด ซึ่งเรียกว่า Psychogenic Polydipsia) เป็นสิ่งที่เลียนแบบโรคเบาจืด หวานที่ไม่มีรสหวานได้มากที่สุดในทุกช่วงอายุ แม้ว่าผู้ป่วยผู้ใหญ่หลายกรณีในวรรณกรรมทางการแพทย์พบมีความผิดปกติทางจิต แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะดื่มน้ำบ่อยเป็นนิสัย (Habit Polydipsia) มักไม่มีโรคอื่นที่ตรวจพบได้ และแยกแยะได้ด้วยการทดสอบการงดน้ำ (Water Deprivation Test) โดยผู้ป่วยจะสามารถทำให้ปัสสาวะเข้มข้นขึ้นเล็กน้อยก่อนที่จะเกิดภาวะขาดน้ำ อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะทำการทดสอบการงดน้ำ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจสอบเพื่อแยกแยะภาวะ Psychogenic Polydipsia ออกจาก Habit Polydipsia เสียก่อน
การวินิจฉัย
ภาวะกระหายน้ำบ่อย (Polydipsia) เป็นเพียงอาการ (หลักฐานของภาวะเป็นโรค) มิได้เป็นโรคในตัวของมันเอง มักเกิดพร้อมกับอาการปัสสาวะบ่อย (Polyuria) และระดับโซเดียมในเลือดต่ำ การตรวจวินิจฉัยมุ่งไปที่การวินิจฉัยโรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes mellitus) ที่เป็นประโยชน์การตรวจวัดซีรั่มในเลือดจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความเข้มข้นของสารน้ำ (Osmolalityภายนอกเซลล์ การลดลงของความเข้มข้น Osmolality ของซีรั่ม เนื่องจากการดื่มน้ำมากเกินไป จะลดความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ไนโตรเจนในเลือด (BUN) และโซเดียม
อ่านตรวจทานโดย ดร.พญ.สุวิณา รัตนชัยวงศ์
แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Polydipsiab [2024, December 12] โดย พรธีรา การเกษม