ยารักษาแผลไหม้ (Drugs in burns)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 10 ตุลาคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- ตารางการแบ่งระดับแผลไหม้ของ Ambroise Pare
- ดูแลเบื้องต้นอย่างไรเมื่อมีแผลไหม้?
- ประเภทยาและเวชภัณฑ์สำหรับแผลไหม้มีอะไรบ้าง?
- ตัวอย่างตารางการใช้ยาตามสาเหตุของแผลไหม้
- ยารักษาแผลไหม้มีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร? ชนิดยาที่ใช้บ่อยมีอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- ยาใส่แผล ยาทำแผล (Antiseptic)
- ยาแก้ปวด และยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
- ซอลโคเซริล อายเจล (Solcoseryl Eye Gel)
- ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน (Silver sulfadiazine)
บทนำ
แผลไหม้ (Burn) เป็นอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อของร่างกายซึ่งมักเกิดกับเนื้อเยื่อผิว หนัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความร้อน กระแสไฟฟ้า สารเคมี แสงแดด รังสี หรือ การเสียดสีอย่างรุนแรง ซึ่งการจำแนกความรุนแรงของแผลไหม้สามารถใช้เกณฑ์ดังนี้
1. ใช้ความลึกของผิวหนังเป็นเกณฑ์ บางตำราระบุ 3 ระดับ บางตำราระบุ 4 ระดับ (ดังจะกล่าวต่อไป)
2. ใช้ความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายของผิวหนังร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น อายุ และตำแหน่งที่เกิดแผลไหม้
3. ใช้ขนาดพื้นที่ผิวของร่างกายที่เกิดแผลไหม้เป็นเกณฑ์
อนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น จึงขอยกตัวอย่างระดับความรุนแรงของแผลไหม้โดยใช้ความลึกของผิวหนังที่เสียหายของ Ambroise Pare (ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้กำหนดระดับความรุนแรงของแผลไหม้) ดังตารางข้างล่างนี้
ตารางการแบ่งระดับแผลไหม้ของ Ambroise Pare
ตารางการแบ่งระดับแผลไหม้ของ Ambroise Pare โดยใช้ความลึกของแผลไหม้เป็นเกณฑ์
แผลไหม้ระดับที่ | ระดับความลึก | ลักษณะแผลที่ปรากฏ | ความรู้สึก (ความเจ็บปวด) | ระยะเวลาที่แผลฟื้นสภาพ | ความเสียหายที่ตามมา |
1 | ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) | ผิวแดง, แห้ง | แสบๆ, เจ็บเล็กน้อย | ภายใน 1 สัปดาห์ อาการเป็นปกติ | ไม่มีความเสียหายตามมา |
2 ขั้นที่ 1 | ชั้นหนังแท้ส่วนต้น (Superficial Dermis) | ผิวแดง, มีตุ่มน้ำใสพองขึ้นมา | แสบและเจ็บ | 2 – 3 สัปดาห์ | มีการติดเชื้อบริเวณแผลไหม้และอักเสบ |
2 ขั้นที่ 2 | ชั้นหนังแท้ระดับลึก (Deep Dermis) | ผิวแดงสลับขาว, มีตุ่มน้ำพองเป็นสีแดงๆ | แสบและเจ็บ | หลายสัปดาห์หรืออาจขยายผลเป็นแผลไหม้ระดับ 3 | มีแผลเป็น, ผิว หนังหดรั้ง อาจต้องทำการผ่าตัด |
3 | เสียหายลึกเกินชั้นหนังแท้ | ซีดขาวร่วมกับมีสีน้ำตาลและแห้งด้าน | เจ็บปวดมาก | ต้องรักษาดัวยการผ่าตัด | มีแผลเป็น, ผิว หนังหดรั้ง และถึงขั้นตัดอวัยวะที่เป็นแผลไหม้ |
4 | เสียหายลึกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก | ผิวดำเกรียมและมีเนื้อตาย | เจ็บปวดมากถึงขั้นทรมาน | ต้องรักษาดัวยการผ่าตัด | ต้องตัดอวัยวะที่เสียหาย โดยอาจต้องมีการแก้ไขอวัยวะที่เหลือเพื่อการดำรงชีวิตต่อ |
ดูแลเบื้องต้นอย่างไรเมื่อมีแผลไหม้?
การดูแลเบื้องต้นเมื่อมีแผลไหม้ ต้องทำอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจใช้หลักทั่วไปในการดูแลเบื้องต้น ดังนี้ เช่น
1. กำจัดสาเหตุของแผลไหม้: เช่น ความร้อน สารเคมี และพาผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุโดยเร็ว
2. กรณีแผลไหม้จากสารเคมี: เช่น ต้องแยกเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกจากผู้ประสบภัย และล้างตัวผู้ประสบภัยด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก
3. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย: เช่น เมื่อแผลไหม้บริเวณกว้างและรุนแรง โดยคลุมผู้ป่วยด้วยผ้าห่มสะอาด
4. ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำป้องกันผู้ป่วยหมดสติ: เช่น เมื่อแผลไหม้บริเวณกว้างและรุน แรง
5. ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไม่พยายามถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยเมื่อแผลไหม้บริเวณกว้างและรุนแรง เพราะอาจทำให้แผลถลอกกว้างขึ้น
ประเภทยาและเวชภัณฑ์สำหรับแผลไหม้มีอะไรบ้าง?
การใช้ยาเป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาและหายจากการบาดเจ็บ ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้รัก ษาแผลไหม้ถูกแยกเป็นหมวดหมู่ ด้องใช้ตามอาการและสาเหตุของแผลไหม้ที่แตกต่างกันออก ไป (ดังจะกล่าวต่อไป) เช่น
- แผลไหม้จากไฟฟ้า: เป็นสาเหตุให้ร่างกายขาดน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะของร่างกาย การดูแลรักษา เช่น ให้สารละลายน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
- แผลไหม้จากความร้อนหรือไฟ: มักจะมีอาการปวดและเกิดการติดเชื้อตามมา การดูแลรักษา เช่น การให้ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ
- แผลไหม้จากสารเคมี: มักมีข้อจำกัด ถ้าไม่ทราบว่าโดนสารเคมีชนิดไหน ส่วนใหญ่มักใช้น้ำสะอาด หรือในโรงพยาบาล คลินิก จะใช้น้ำที่ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อ (Sterile water for irrigation) เป็นตัวชะล้างทำความสะอาดผู้ป่วย หลังจากนั้นจึงพิจารณารักษาตามอาการ
ทั้งนี้ ประเภทยาและเวชภัณฑ์สำหรับแผลไหม้ระดับตั้งแต่ 2 - 3 ขึ้นไปที่ใช้บ่อย ได้แก่
1. ยาบรรเทาอาการปวด (ยาแก้ปวด): เช่น ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์ที่สมอง เช่น มอร์ฟีน, และยาบรรเทาอาการปวดชนิดเอ็นเสด (NSAIDs: Non steroidal anti-inflammatory drugs)
2. ยาปฏิชีวนะ ชนิดทั้งกินและทา: จะช่วยป้องกันการถูกทำลายของแผลไหม้ หรืออวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากเชื้อแบคทีเรียและช่วยไม่ให้เกิดภาวะติดเชื้อ
3. สารน้ำที่ต้องให้ทางหลอดเลือด: เช่น น้ำเกลือและโปรตีน เพื่อป้องกันการขาดน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ตัวอย่างตารางการใช้ยาตามสาเหตุของแผลไหม้
สาเหตุแผลไหม้ (Cause of burn) | ยาแก้ปวด กลุ่มเสพติด (Opioid analgesic) | กลุ่มยา แก้ปวด ชนิดเอ็นเสดส์ (NSAIDs) | สารที่ช่วยขับปัสสาวะ (Osmotic Diuretic) | ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) | ยาปฏิชีวนะ ทาเฉพาะที่ (Topical Antibiotic) | สารละลายน้ำเกลือ (Fluid) |
ความร้อน (heat) | ✓ | ✓ | ✓ | |||
สารเคมี(Chemical ) | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ไฟฟ้า (Electric ) | ✓ | ✓ |
ยารักษาแผลไหม้มีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร? ชนิดยาที่ใช้บ่อยมีอะไรบ้าง?
ยารักษาแผลไหม้มีรูปแบบของการจัดจำหน่ายหลากหลายชนิด อาทิเช่น
- ยาต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) ในรูปแบบของยาครีมและยาขี้ผึ้ง
- ยาแก้ปวด ชนิดรับประทาน ชนิดฉีด และสารละลายน้ำเกลือ ที่ต้องให้ทางหลอดเลือด
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมควรต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและความรุนแรงของแผลไหม้อย่างถูกต้อง เพื่อจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ในการปฐมพยาบาลเบื้อง ต้นได้อย่างถูกต้อง จึงขอนำเสนอตัวอย่างยาที่ใช้รักษาอาการแผลไหม้ที่ใช้บ่อย ดังต่อไปนี้ คือ ยาซอลโคเซริล อายเจล (Solcoseryl Eye Gel), ยาซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน (Silver sulfadiazine) และ ยามีโบ (Mebo)
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Burn [2020,oct3]
2. http://www.narenthorn.or.th/node/71 [2020,oct3]
3. http://www.emedicinehealth.com/pdfguides/first_aid/chemical-burns-treatment-61681.pdf[2020,oct3]