ท้องลม (False pregnancy)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 20 สิงหาคม 2558
- Tweet
- การตั้งครรภ์ (Pregnancy)
- การแท้งบุตร (Miscarriage)
- ท้องลม ท้องหลอก (Blighted ovum)
- ประจำเดือน (Menstruation)
- ปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
- อัลตราซาวด์ (Ultrasonogram)
ท้องลม หรือท้องหลอก (False pregnancy) คือ ภาวะที่คิดว่าตนตั้งครรภ์โดยจะมีอาการของการตั้งครรภ์เหมือนการตั้งครรภ์จริง แต่แท้ที่จริงแล้วไม่มีการตั้งครรภ์
อาการที่พบได้บ่อยของท้องลมเช่น ขาดประจำเดือน คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะตอนเช้าๆ อยากอาหารแปลกๆ เต้านมขยาย อาจร่วมกับมีน้ำนมได้ ช่องท้องใหญ่ขึ้น บางคนรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นในท้อง
พบอาการท้องลมได้ประมาณ 6 รายต่อการตั้งครรภ์จริงทั้งหมด 22,000 ราย มักพบในผู้หญิงวัยปลาย 30 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงคือ อยากมีลูกมากๆ ผ่านการแท้งหรือการสูญเสียลูกมาก่อน และมักเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหว มักมีปัญหาทางอารมณ์/จิตใจมาก่อน
ท้องลมเกิดจากความรุนแรงทางอารมณ์ในการต้องการตั้งครรภ์ ส่งผลให้สมองแปลอาการผิด (ทั้งนี้เพราะสมองส่วนรับอารมณ์ความรู้สึกคือ สมองตำแหน่งเดียวกับที่ควบคุมการสร้างฮอร์ โมนที่ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อคือ สมองส่วนลึกที่อยู่ในสมองใหญ่ที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส/Hypothalamus) จึงสร้างฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ขึ้น จึงส่งผลให้เกิดภาวะท้องลมขึ้น
แพทย์วินิจฉัยภาวะท้องลมได้จากประวัติอาการ การเจ็บป่วย และการสูญเสียที่ผ่านมา การตรวจครรภ์ การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือด ดูปริมาณฮอร์โมนต่างๆ และการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องดูเด็กในท้อง
การรักษาภาวะท้องลมคือการรักษาดูแลด้านจิตเวช
บรรณานุกรม
- False pregnancy http://en.wikipedia.org/wiki/False_pregnancy 2015,August1].
- False pregnancy http://www.womens-health.co.uk/false_pregnancy.html 2015,August1].
Updated 2015, August 1