ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน (Hypoglycemia)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 3 ตุลาคม 2554
- Tweet
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
- การดูแลเท้าในโรคเบาหวาน (Diabetic foot care)
- เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus)
- เบาหวานกับการตั้งครรภ์ (Diabetes mellitus and pregnancy)
- เบาหวานขึ้นตา เบาหวานกินตา (Diabetic retinopathy)
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ได้แก่ ภาวะซึ่งในเลือดมีปริมาณน้ำตาลกลู โคส (Glucose) ต่ำ มักต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้เสมอในผู้ป่วยเบา หวานที่กินยาเบาหวาน และ/หรือ ฉีดยาอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่
- กินยา ฉีดยาเบาหวาน/อินซูลินไม่ถูกต้องตามแพทย์แนะนำ
- ซื้อยาต่างๆกินเอง หรือใช้สมุนไพรร่วมด้วย เพราะอาจมีผลข้างเคียงเสริมฤทธิ์ยาเบาหวาน จึงส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
- กินยา ใช้ยาเบาหวานไม่ตรงเวลาในทุกๆมื้อของยา
- อดอาหาร หรือกินอาหารน้อยกว่าตามปกติ
- ออกกำลังกายมากกว่าปกติ
- ดื่มสุราเพราะสุราเป็นสาเหตุให้กินอาหารน้อยผิดปกติ น้ำตาลในเลือดจึงต่ำลงได้
อาการจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักมีหลายๆอาการร่วมกันได้แก่ รู้สึกไม่สบาย เหนื่อยมาก หิว มือสั่น เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย สับสน มึนงง วิงเวียน ใจสั่น หัวใจเต้นแรงเร็ว เมื่อน้ำตาลต่ำมาก อาจเป็นลม หมดสติ ปลุกไม่ตื่น โคม่า บางคนอาจชัก
การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่สำคัญคือ
- ต้องรู้จักอาการ คอยสังเกตอาการ เพื่อรักษาได้ทัน แจ้งคนรอบข้างให้รู้จักอาการ มีเอกสารกำกับตนว่า เป็นโรคอะไร กินยาอะไร เพื่อเมื่อเกิดอาการนอกบ้าน คนอื่นจะได้ช่วยเหลือได้ทัน
- มีน้ำหวาน ลูกอม ติดบ้าน ติดตัวเสมอ เมื่อเริ่มมีอาการให้รีบกิน หรืออมอย่างน้อย 2 - 3 ช้อน หรือ 3 - 4 เม็ด รอประมาณ 15 นาที ถ้าอาการไม่ดีขึ้นกินซ้ำ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล หรือรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลตั้งแต่แรก หรือพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลฉุกเฉินตั้งแต่แรก ขึ้นกับความรุนแรงของอา การ
- เมื่ออาการดีขึ้นก็ยังต้องพบแพทย์ก่อนนัด หรือภายใน 1 - 2 วันเพื่อการปรับยาเบา หวาน
- พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน เมื่อเป็นลมหมดสติ ปลุกไม่ตื่น ชัก (หลังหยุดชัก) และ/หรือ โคม่า
การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่สำคัญคือ
- กินยา ฉีดยาเบาหวาน/อินซูลิน ตรงเวลาในทุกๆครั้งของการใช้ยา
- กินอาหารทุกมื้อในปริมาณใกล้เคียงกัน เพื่อแพทย์ปรับขนาดยาได้ถูกต้อง
- ไม่อดอาหาร กินอาหารทุกมื้อตามที่เคย
- การออกกำลังกายในทุกๆวันควรต้องสม่ำเสมอ ไม่ใช่บางวันออกกำลังกายเบาๆ บางวันออกกำลังกายหักโหม เพื่อประโยชน์ในการปรับขนาดยาได้เหมาะสมเช่น เดียวกับในเรื่องอาหาร
- ไม่ดื่มสุรา
- ไม่ซื้อยาต่างๆกินเองหรือใช้ยาสมุนไพร
- ปรึกษาแพทย์พยาบาลถึงภาวะนี้ และในการดูแลตนเองเมื่อเกิดภาวะนี้ ล่วงหน้าเสมอ
- เมื่อกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ ควรพบแพทย์พยาบาลขอคำแนะนำ อย่าปรับลดยาเบาหวานเอง
บรรณานุกรม
Dabetes-low sugar http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000085.htm [2014, July19 ].
Updated 2014, July 19