คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : โรคผิวหนัง
ก. โรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ของผิวหนังเอง ซึ่งรวมทั้งเซลล์ของต่อมต่างๆ ของผิวหนังด้วย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการเฉพาะผิวหนัง ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
ข. อาการทางผิวหนังจากโรคทางร่างกายอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจะมีทั้งอาการทางผิวหนังร่วมกับอาการของโรคต้นเหตุ เช่น
- มะเร็งหลอดอาหารกระจายมาผิวหนังโดยคลำได้เป็นปุ่มก้อนเนื้อที่ผิวหนัง ซึ่งนอกจากมีปุ่มก้อนเนื้อกระจายที่ผิวหนังแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของมะเร็งหลอดอาหารร่วมด้วย เช่น กลืนลำบาก ผอมลงมาก น้ำลาย/เสลดอาจมีเลือดปน
- มีผื่นที่ผิวหนัง เช่น จากโรคหัด หรือผื่นจากการแพ้ยา หรือจากฝุ่นละออง ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคนั้นๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตัวเมื่อผื่นเกิดจากโรคหัด หรือมีอาการจาม มีน้ำมูก เมื่อผิวขึ้นผื่นจากแพ้ฝุ่นละออง หรือมีประวัติผื่นขึ้นหลังกินยา/ใช้ยา
- ต่อมต่างๆ ของผิวหนังอุดตันและ/หรือติดเชื้อ เช่น เป็นสิว สิวอุดตัน
- การติดเชื้อซึ่งติดเชื้อได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เช่น ฝีต่างๆ กลาก เกลื้อน โรคเริม โรคงูสวัด โรคไฟลามทุ่ง
- จากโรคออโตอิมมูน/ภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง) เช่น โรคพุ่มพวง/โรคลูปัส-โรคเอสแอลอี
- จากโรคภูมิแพ้ เช่น ผื่นคันจากการสัมผัส ขนสัตว์ หรือเกสรดอกไม้
- จากการแพ้สารต่างๆ เช่น ผื่นจากการแพ้ยา
- จากการขาดวิตามินบางชนิดเช่น ภาวะขาดวิตามินบี3
- จากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง ผิวหนังจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเอดส์
- จากโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผิวหนัง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) และ โรคแผลเป็นนูน
- จากผลของฮอร์โมน เช่น การขึ้นฝ้าในคนท้อง
- จากสูงอายุ (เซลล์ผิวหนังเสื่อมตามอายุ) เช่น กระผู้สูงอายุ
- ไฝต่างๆ
- โรคทางพันธุกรรม เช่น ปานผิวหนังชนิดต่างๆ (เช่น ปานแดงในเด็กเล็ก)
- จากการถูกแสงแดดจัดเรื้อรัง ซึ่งนอกจากเป็นปัจจัยให้เซลล์ผิวหนังเสื่อมก่อนวัยแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังด้วย
อาการของโรคผิวหนังขึ้นกับสาเหตุ ที่อาจพบได้ เช่น ผิวหนังขึ้นผื่น เป็นจุดหรือเป็นดวง เป็นปื้น เป็นผื่นนูน เป็นแผ่น เป็นตุ่ม เป็นติ่งเนื้อ เป็นถุงน้ำ เป็นแผล ภาวะหลอดเลือดฝอยพอง ปาน ไฝ หูด (โรคหูด) บวม แดง คัน และ/หรือ สีของผิวหนังผิดปกติ และโรคผิวหนังอาจเกิดร่วมกับอาการต่างๆของโรคทุกระบบอวัยวะ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ เช่น
- อาการของการติดเชื้อ: เช่น มีไข้ มีได้ทั้ง ไข้สูง ไข้ต่ำ ไอ เจ็บคอ ตาแดง
- อาการของภูมิแพ้: เช่น ตาแดง มีน้ำตาไหล น้ำมูก
- โรคเลือด: เช่น จุดเลือดออก หรือจ้ำห้อเลือด
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น ผิวชื้น เหงื่อออกมาก ผมร่วง คันทั้งตัวโดยไม่มีผื่น หรือเป็นลมพิษง่าย เล็บเปราะ
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดเรื้อรัง เพราะเป็นต้นเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคผิวหนังหลายชนิด รวมทั้งมะเร็งผิวหนัง
- กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน เพื่อความแข็งแรง และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
- ดูแลรักษาความสะอาดผิวหนังเสมอ
- สังเกตและหลีกเลี่ยงสารต่างๆ ที่ก่อการระคายเคืองหรือก่ออาการแพ้ต่อผิวหนัง