คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : เบาหวาน
ก. เบาหวานชนิด 1: เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติหรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน” เนื่องจากเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า “โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น”
ข. เบาหวานชนิด 2: เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน ดังนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า “เบาหวานในผู้ใหญ่” เป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน พบได้สูงที่สุดประมาณ 90-95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด
ค. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์: พบได้ประมาณ 2-5% ของเบาหวานทั้งหมด กล่าวคือ เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น โดยมารดาไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์
- โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน: ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน
- ขาดการออกกำลังกาย: เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้เซลล์ต่างๆ ไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ หรือช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง
- พันธุกรรม: คนที่มีครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวานจะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป
- เชื้อชาติ: คนบางเชื้อชาติ เช่น คนเอเชียและคนผิวดำมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่า
- อายุ: ยิ่งอายุสูงขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้น
- มีไขมันในเลือดสูง
- มีความดันโลหิตสูง
อาการหลักสำคัญของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย นอกจากนั้น เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวแห้งคัน ตาแห้ง อาการชาเท้าหรือรู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้าหรือที่เท้า ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้ เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆ แผลมักหายช้ากว่าปกติโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้
- เป็นสาเหตุการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ ทุกชนิดในร่างกาย โดยเป็นการอักเสบชนิดที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งที่สำคัญ คือ การอักเสบของหลอดเลือด จึงส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆ ตีบแคบลง ส่งผลถึงการขาดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ จึงเกิดโรคต่างๆ เป็นผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และภาวะเบาหวานขึ้นตา
- เมื่อเกิดแผลจะหายช้า โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า ซึ่งถ้าดูแลไม่ดีอาจถึงขั้นต้องตัดขา
- ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆ ลดลงต่ำกว่าคนปกติทั่วไป จึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย และมักรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
- การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
|
น้ำตาลในเลือดเมื่องดอาหาร |
น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร |
คนปกติ |
60 - น้อยกว่า 100 |
น้อยกว่า 140 |
ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน |
100 - น้อยกว่า 126 |
140 - น้อยกว่า 200 |
คนเป็นเบาหวาน |
126 ขึ้นไป |
200 ขึ้นไป |