คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : ฮาสชิโมโต
โรคฮาสชิโมโต (Hashimoto’s disease) หรือต่อมไทรอยด์อักเสบฮาสชิโมโต (Hashimoto thyroiditis ย่อว่า HT) คือ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดเรื้อรัง ที่เกิดจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค/ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติต่อต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เซลล์ต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบเรื้อรังถาวร จนในที่สุดเซลล์ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถทำงานปกติได้ ทำให้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้น้อยลง จนในที่สุดทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน/ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำอย่างถาวร
- หญิงวัยกลางคน เพราะพบโรคนี้ได้สูงในคนกลุ่มนี้
- พันธุกรรม: โดยพบโรคนี้ได้สูงขึ้นในคนที่เป็นโรคออโตอิมมูน หรือที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคออโตอิมมูน
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นฐานที่มีปริมาณรังสี (Radiation) ในบรรยากาศ/ในสิ่งแวดล้อมสูง
ก. ในระยะแรกของโรค: ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ
ข. เมื่อมีการดำเนินโรค ซึ่งจะเป็นไปช้าๆ อาจเป็นเดือนหรือเป็นปี จนเซลล์ต่อมไทรอยด์อักเสบบาดเจ็บเสียหายมากขึ้นและสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้ลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น
- ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน: อาการพบบ่อย เช่น ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย ท้องผูก ง่วงนอนทั้งวัน เชื่องช้า อ้วนฉุ/น้ำหนักตัวเพิ่ม เสียงแหบ ผิวแห้ง ผิวหยาบ ผมร่วง ทนอากาศเย็นไม่ได้ เหนื่อยล้า อาจมีบวมรอบตาและที่มือเท้า ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ มีบุตรยาก มีโรคเส้นประสาท
- ในหญิงวัยมีประจำเดือน จะมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ และแต่ละรอบเดือนมักมีเลือดประจำเดือนออกมาก
- อาจเจ็บที่ต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะขณะกลืนที่รวมถึงกลืนน้ำลาย
- กรณีไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหัวใจวายจากกล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวผิดปกติ จนอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
- อาจมีต่อมไทรอยด์โตจนมองเห็นหรือคลำพบและ/หรือมีก้อนเนื้อเกิดในต่อมไทรอยด์ ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการ เช่น
- รู้สึกเสียภาพลักษณ์ในบางคน
- เมื่อต่อมไทรอยด์/ก้อนเนื้อโตมาก จนกดเบียดทับเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เช่น ลำคอ กล่องเสียง ท่อลม หลอดอาหาร อาจส่งผลให้เกิดระคายเคืองต่ออวัยวะข้างเคียงเหล่านั้น จนอาจเกิดอาการ
- ไอเรื้อรัง จากก้อนก่อการระคายเคืองต่อท่อหลอดลม
- ท่อลมตีบ/หายใจลำบาก จากก้อนกดเบียดท่อลม
- สำลักเวลากลืน จากก้อนกดเบียดหลอดอาหาร
- กลืนลำบาก จากก้อนกดเบียดหลอดอาหาร
- กรณีไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาไม่สม่ำเสมอ: ผู้ป่วยจะมีอาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
- ต่อมไทรอยด์โตหรือมีก้อนในต่อมไทรอยด์
- เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์